จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระนาดเอกเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี



ระนาดเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีตีที่ ประดิษฐ์สร้างขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ในลักษณะเดียวกันจึงนำมากล่าวรวมไว้เสียในหมวด เดียวกัน ระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็กนี้ประดิษฐ์ขึ้นใน รัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ลูกระนาดแต่เดิมทำด้วยทองเหลืองจึงเรียกกันมาว่า ระนาดทองต่อมามีผู้ทำลูก ระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอกจึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็กใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไปตามขอบรางสำหรับ รองหัวท้ายลูกระนาดแทนร้อยเชือกผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้แต่เดิมทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันมาว่า ระนาดทองต่อมามีผู้ทำลูกระนาด ด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอกจึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทอง และระนาดเหล็กใช้วาง เรียงบนไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไปตามขอบรางสำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทน ร้อยเชือก ผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน 2ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ระนาด 2 ชนิดนี้ ทั้งที่ทำลูกด้วยทองเหลืองและเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก ลูกต้นยาว ประมาณ 23.5 ซม. ลูกยอดยาวประมาณ 19 ซม.และกว้างประมาณ 4 ซม.ลูกต้นๆขูดโลหะ ตอนกลางด้านล่างจนบางเพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ลูกใกล้ๆลูกยอด ตลอดจนลูกยอดคงโลหะไว้จนหนากว่า 1 ซม. รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนั้น ทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมแต่ยาว
ประมาณ 1 เมตร ปากราง แคบกว่าส่วนยาวของลูกระนาดคือกว้างประมาณ 18 ซม. เบื้องล่างของรางทำเท้ารอง 4 เท้าติดลูกล้อ เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย

ระนาดเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ใช้บรรเลงในวงมโหรี วงเครื่องสายผสมวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ ไม้แข็งวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์มอญ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง ในการล้อและขัดการดำเนินทำนองจะเป็นไปอย่างละเอียด เรียกว่า เก็บ


วิธีการเล่นเครื่องดนตรี ระนาดเหล็ก

-  ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิโดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการ จับไม้ระนาดให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลางนิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
-  เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของผืนตลอดเวลา
-  ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
-  การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึงเพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหายได้
-  ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิมห้าม   ใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น