จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขิมเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


          ขิม คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ที่ใช้สายโลหะขึงอยู่บนกล่องเสียง ตัวขิมทำด้วยไม้ มีลักษณะกลวงอยู่ภายใน ด้านบนขึงสายทองเหลืองเรียงสลับกันเป็นแถวๆตามแนวนอน มีด้วยกันทั้งหมด 14 แถว แถวละ 3 สาย รวมสายขิมทั้งหมด 42 สายที่นิยมใช้สายทองเหลืองเพราะมีสำเนียงกังวานไพเราะดี สายขิมทุกสายมีหมุดทองเหลืองยึดอยู่ทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 42 ตัว หมุดทางด้านขวามือของผู้บรรเลงใช้หมุนสำหรับเทียบเสียงได้ ส่วนหมุดทางด้านซ้ายมือใช้สำหรับยึดสายขิมเท่านั้นบนพื้นของตัวขิมมี "หย่อง" 2 อันทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือนจากสายขิมลงไปสู่ตัวขิม ถัดจากแนวของหมุดขิมทั้ง 2 ด้านเข้ามาเล็กน้อยมีแนวสันไม้เตี้ยๆเรียกว่า "สะพาน" รองรับสายขิมไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยวางแนวสอบเข้าหากันเหมือนรูปพีระมิด สะพานนี้ทำหน้าที่จัดระดับความตึงของสายขิมเพื่อให้เสียงมีความสูงต่ำต่างกัน ไม้พื้นของตัวขิมทำด้วยไม้เนื้อโปร่งเพื่อให้เสียงก้องกังวานผิวหน้ากรุเป็นช่องรูปวงกลมไว้เพื่อให้เสียงออกดีขึ้น ตรงกลางตัวขิมทำเป็นลิ้นชักเล็กๆสำหรับเก็บค้อนที่ใช้เทียบเสียงขิม ส่วน

  วิธีบรรเลงของเครื่องดนตรี
       -ไช้ไม้ขิม 2 อันตีลงไปบนสายขิมทำให้เกิดเสียงดังกังวาน

ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ขิม แบ่งออกเป็น

 - ตัวขิม
          ตัวขิมทำด้วยไม้มีลักษณะกลวงอยู่ภายในส่วนที่เป็นกรอบโครงร่างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขอบหยักโค้งกลมมนคล้ายปีกผีเสื้อ พื้นด้านล่างและด้านบนทำด้วยแผ่นไม้บางๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนที่เนื้อไม้มีลักษณะ "พรุน" เพื่อให้เสียงก้องกังวานดีขึ้น ทั้ง 2 ฝั่ง ของตัวขิมเป็นบริเวณที่ตั้งของหมุดยึดสายขิมหย่องหนุนสายขิม หย่องบังคับเสียง และเป็นที่เก็บลิ้นชักสำหรับใส่ฆ้อนเทียบเสียงขิมด้วย

 - ฝาขิม
      ฝาขิมทำด้วยไม้มีขอบงุ้มลงมาโดยรอบ มีรูปร่างเข้ารูปกับตัวขิมเพื่อให้แลดูสวยงาม เวลาที่ปิดฝาขิมนิยลงไปจนชนกับหัวมทำ  "แถบสำหรับเสียบไม้ขิม" ติดไว้ทางด้านในฝาขิมเพื่อใช้  สำหรับเหน็บไม้ขิมรุ่นเก่าๆนั้นมักจะนิยมวาดลวดลายสวยงามไว้บนฝาขิมด้านนอก หรือวาดภาพลวดลายไว้บนฝาขิมแต่นิยมทำ เป็นลายไม้ลงเงาเรียบๆหรือทำด้วยวัสดุ  แข็งเช่นเดียวกับที่ใช้ทำกระเป๋าเดินทางฝาขิมนั้นนอกจากจะมีไว้สำหรับปกปิดตัวขิมด้านบนแล้วยังใช้ประโยชน์ในการทำเป็น"กล่องเสียง"  เพื่อขยายเสียงของขิมให้ดัง ก้องกังวานมากยิ่งขึ้นโดยใช้วางรองรับตัวขิมไว้ด้านล่างทำให้ตัวขิมสูงขึ้นและมี  สภาพ "กลวง" อยู่ภายใน นอกจากนั้นฝาขิมยังหนุนให้ตัวขิมมีระดับสูงขึ้นเวลานั่ง  บรรเลงจะถนัดกว่าเพราะมือของผู้บรรเลงไม่ต่ำเข่า

 - ลิ้นชัก
         ขิมรุ่นเก่ามักจะมีลิ้นชักไม้เล็กๆอยู่ตรงกลางตัวขิมด้านที่ผู้บรรเลงนั่งตี ลิ้นชักนี้มีไว้สำหรับเก็บ "ฆ้อนเทียบเสียงขิม" ซึ่งทำด้วยทองเหลือง ตรงปลาย ลิ้นชักด้าน นอกมีหมุด หรือ ห่วงโลหะเล็กๆ ติดไว้เพื่อให้สามารถใช้มือดึงลิ้นชักออกมาจากตัวขิมได้สะดวกขึ้น นอกจากใช้เก็บฆ้อนสำหรับเทียบเสียงขิมแล้ว ยังใช้ลิ้นชักนี้  หนุนรองคั่นระหว่าง ตัวขิม และ ฝาขิม เพื่อเพิ่มระดับความสูงของตัวขิมขึ้นไปอีก ทั้งยังช่วยให้เสียงขิมโปร่งกังวานดีขึ้นด้วยแต่ปัจจุบันไม่นิยมทำลิ้นชักแบบนี้แล้ว เพราะมักจะเกิดปัญหาเนื่องจากฆ้อนทองเหลืองพลิกตัวขัดเหลี่ยมอยู่ข้างในลิ้นชักทำให้ไม่สามารถจะดึงลิ้นชักออกมาได้

 - ฆ้อนเทียบเสียง
      ฆ้อนเทียบเสียงขิมมักทำด้วยทองเหลือง ตรงด้ามสำหรับจับคว้านเป็นช่องสี่เหลี่ยม ลึกเข้าไปเล็กน้อยขนาดพอดีที่จะใช้สวมลงไปบนหัวหมุดยึดสายขิมได้ เวลาที่ต้อง การเทียบเสียงก็ใช้ด้ามฆ้อนสวมลงไปบนหัวหมุดยึดสายขิมที่อยู่ทางด้านขวามือ ของผู้บรรเลงขิมแล้วบิดหมุนไปมาเพื่อปรับความตึงของสายขิมตามที่ต้องการที่ใช้ทองเหลืองทำฆ้อนก็เพราะจะได้มีน้ำหนักพอที่จะตอกย้ำหมุดให้แน่นติดกับ เนื้อไม้ได้ดีนั่นเอง ขิมรุ่นเก่านั้นใช้หมุดยึดสายขิมแบบที่ตอกย้ำได้เวลาที่หมุดหลวมก็จะใช้ฆ้อนนี้ตอกย้ำหมุดให้แน่น สายขิมจะได้ไม่คลายตัวง่าย

 - ไม้ตีขิม
  ไม้ตีขิมของจีนนั้นทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้เรียวแบนจากด้ามจนถึงปลาย ตรงปลายไม้
  ทำเป็นสันแข็งไม่นิยมหุ้มวัสดุใดๆไว้ที่ส่วนปลายของไม้ขิม แต่ถ้าเป็นไม้ขิมของไทย
  จะนิยมบุสักหลาด หรือหนังไว้ตรงปลายไม้เพื่อให้เสียงนุ่มนวลขึ้น หากต้องการจะ
  ให้ไม้ขิมมีลักษณะโค้งงอไม้ตีขิมนี้จะใช้เป็นอุปกรณ์ในการเทียบเสียงขิมควบคู่กับ
  ฆ้อนทองเหลือง ไม้ขิมนั้นมีส่วนสำคัญต่อเสียงขิมเป็นอย่างยิ่งเพราะเสียงขิม
  จะดังหรือเบา จะแหลมหรือเสียงทุ้ม ล้วนอยู่ที่ไม้ขิมเป็นส่วนใหญ่ การเลือกใช้
 ไม้ขิม ให้เหมาะกับเพลงที่บรรเลงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บรรเลงต้องคำนึง

 - หย่อง
      หย่องขิมมี 2 ชนิดคือ "หย่องหนุนสายขิม" และ "หย่องบังคับเสียงขิม" หย่องหนุน สายขิมนั้นมี 2 ชิ้นแต่ละชิ้นมีลักษณะยาวแบนเป็นสันหนา ส่วนล่างนิยมฉลุเป็นลวดลายโปร่ง ส่วนบนมีลักษณะคล้ายกับ "ใบเสมา" มี 7 อันด้วยกัน ทำด้วยวัสดุแข็งเช่น กระดูกสัตว์หรืองาเพื่อให้สามารถทนแรงกดจากสายขิมจำนวนมากได้ ถ้าหากไม่ใช้กระดูกสัตว์ หรืองาก็ใช้ไม้เนื้อแข็งหรือพลาสติกแทนได้แต่ต้องฝังแผ่นโลหะ   เช่น ทองเหลืองหรือลวดเหล็กไว้บนสันด้านบน เพื่อให้แข็งพอที่จะรับแรงกดจากสายขิมได้ เป็นเวลานานๆ ขิมตัวหนึ่งจะใช้หย่องหนุนสายขิมจำนวน2 แถว แถวทางด้านซ้ายมือของ ผู้บรรเลงทำให้เกิดเสียงที่สามารถบรรเลงได้ทั้ง 2 ฝั่งของตัวหย่อง ส่วนแถวทางด้านขวา มือของผู้บรรเลงทำให้เกิดเสียงที่สามารถบรรเลงได้เฉพาะเพียง"ฝั่งซ้าย" ของหย่องเท่านั้น

 - หมุดยึดสายขิม
     หมุดยึดสายขิมใช้สำหรับขึงสายขิมให้ตึงทำให้เกิดเสียงกังวาลแต่ความนุมนวลของ  เสียงจะเป็นอย่าไร นั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้รรเลงว่าจะตั้งเสียงขิมนั้นไว้อย่างไร

 - ช่องเสียง
       ช่องเสียงนี้มี 2 ช่องด้วยกัน นิยมคว้านเป็นรูกลมไว้บนพื้นไม้ด้านบนของตัวขิม  รูนี้มีไว้เพื่อช่วยให้เสียงขิมดังกังวานดีขึ้นทั้งนี้เพราะภายในตัวขิมกลวงหากไม่เจาะ  ช่องไว้เสียงจะอับเกินไปไม่น่าฟังแต่ในปัจจุบันนิยมใช้พลาสติกแทน แต่บางครั้งก็ใช้วัสดุจำพวกโลหะมาฉลุเป็นลวดลายก็มีแผ่น วงกลมที่นำมาปิดช่องเสียงนี้ไม่มี ผลต่อเสียงขิมเท่าใดนัก

 - สายขิม
     สายขิมนั้นส่วนใหญ่ทำด้วยสายทองเหลืองเนื่องจากมีเสียงกังวานดีและมีสีสันสวยงาม เสียงขิม 1 เสียง จะเกิดจากสายทองเหลือง 3 เส้น ซึ่งขึงวางพาดอยู่บนตัวขิมและหย่องขิม สายทองเหลืองนี้เมื่อนานเข้าจะมีสีดำคล้ำลงเพราะมีขี้ตะกรันมาเกาะโดยรอบสายจะแห้งเกราะและขาดง่ายขึ้นแต่กลับทำให้เสียงขิมก้องกังวานดีขึ้น


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://5237485.multiply.com/journal/item/5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น