จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระนาดเอก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


          ระนาดเอก เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี เดิมที่ได้วิวัฒนาการมาจาก"กรับ"แต่เดิมนั้นคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ แต่ต่อมาก็เกิดความคิดว่าถ้าเอา"กรับ"หลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกันแล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกันและขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า “ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า “ผืน”
            เครื่องดนตรีไทย ระนาดเอก นั้นในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซมกว้างราว 5 ซมและหนา 1.5 ซมมีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาดมาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่งจะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้าหน้าที่ของระนาดเอกใช้บรรเลงในวงมโหรี วงเครื่องสายผสม วงปี่พาทย์ไม้นวมวงปี่พาทย์ ไม้แข็งวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปี่พาทย์มอญโดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง ในการล้อและขัด การดำเนินทำนองจะเป็นไปอย่างละเอียด
 เรียกว่า " เก็บ"
ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีไทย ระนาด
          ระนาดนั้นถือว่า เป็น เครื่องดนตรีไทย ในหมวดหมู่ ของเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี ซึ่ง ระนาด จะมีลูกระนาด เป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญเพราะลูกระนาดนั้น จะเป็นต้นกำเนิด ของเสียง ส่วนประกอบของ ระนาดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งได้แก่
           - รางระนาด  ส่วนนี้จะใช้สำหรับ เป็นที่ขึงผีน หน้าที่ของรางระนาดนั้นจะเปรียงเสมือนกล่อง ขยายเสียง ทำให้เกิด เสียงที่ไพเราะกังวาน ลักษณะของรางระนาด นั้น โดยทั่วไปแล้วนิยมทำ เป็นรูปโค้ง  คล้ายๆ กับเรือ และจะมีฐานรองรับ เพื่อให้ระนาดตั้ง กับพื้นได้ซึ่งส่วนที่รองรับจะอยู่ตรง กลางของส่วนโค้ง เรียกว่า เท้าระนาดเอก

          - ผีนระนาด     ส่วนของผีนระนาดก็คือ ส่วนที่ขึงอยู่บนราง ระนาด  จะประกอบไปด้วยลูก ระนาด ที่ใช้เชือกร้อย แล้วขึงไว้กับรางระนาด  โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบด้วยลูกระนาด จำนวนประมาณ 21 ลูก  แต่บางครั้งก็อาจจะมี ลูกระนาด ถึง 22 ลูกก็ได้ในหนึ่งผีน ซึ่งจะเรียกลูกระนาดที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า ลูกหลีก สำหรับระนาดที่มี 22 ลูกนั้น นิยมใช้สำหรับเล่นในวงปี่พาทย์มอญ และในวงปี่พาทย์นางหงส์ โดยลูกระนาดที่อยู่ทาง ด้านซ้ายมือของผู้เล่นระนาด จะเรียกว่า ลูกต้นหรือลูกทวน จะเป็นเสียงต่ำสุด ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูป คล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้าย รางระนาดเราเรียกว่า “โขน”
            - ไม้ตีระนาด  สำหรับไม้ตีระนาดนั้น นิยมทำมาจากไม้ไผ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3-4 ซม. ส่วนความหนาของไม้ตีระนาดนั้น จะแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
  ไม้นวม จะให้เสียงทีฟังแล้วรู้สึกได้ถึงความไพเราะ นุ่มนวลที่หัวของไม้จะใช้ผ้าพันให้เป็นนวมก่อนจาก  นั้นจะใช้เส้นได้พันทับอีกทีไม้ตีระนาดชนิดนี้นิยมใช้เล่นบรรเลงในวงมโหรี,วงปี่พาทย์
  ไม้แข็ง ซึ่งจะให้เสียงที่ฟังแล้วรู้สึกถึงความมีอำนาจ และแข็งแกร่งลักษณะของไม้จะใช้ด้ายพันไว้ที่ส่วนหัวของไม้
ลักษณะไม้ตีระนาดมีดังนี้     
- ไม้แข็ง ปลายไม้ระนาด พอกด้วยผ้าชุบน้ำรักจนแข็ง
- ไม้นวม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันแล้วถักด้วยด้ายจนนุ่ม
- ไม้ตีระนาดทุ้ม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่มเพื่อตีให้เกิดเสียงทุ้ม
- ไม้ตีระนาดเหล็ก ปลายไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะรูตรงกลางแล้วเอาไม้เป็นด้ามสำหรับถือมีขนาดใหญ่กว่าไม้ตีระนาดเอกธรรมดา
- ไม้ตีระนาดทุ้มเหล็ก ทำลักษณะเดียวกับไม้ตีฆ้องวง แต่ปลายไม้พันด้วยหนังดิบ  เพื่อให้แข็งเวลาตี จะเกิดเสียงได้




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที่  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น