จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี โทน


                   โทน  เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นที่ขึงหนังหน้าเดียว  มีหางยื่นออกไปและบานปลายโทนมีอยู่2 ชนิดคือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี โทนชาตรีนั้น ตัวโทนทำด้วยไม้ขนุน ไม้สัก หรือ ไม้กะท้อน มีสาย โยงเร่งเสียงใช้หนังเรียด ตีด้วยมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกมือหนึ่งคอยปิดเปิด ปลายหางที่เป็นปากลำโพงช่วยให้เกิดเสียงต่างๆ ใช้สำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี และหนังตะลุง และตีประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ หรือวงเครื่องสายหรือวงมโหรีที่เล่นเพลงภาษาเขมร หรือ ตะลุง ส่วนโทนมโหรีนั้น ตัวโทนทำด้วยดินเผาด้านที่ขึงหนังโตกว่า สายโยงเร่งเสียงใช้หวายผ่าเหลาเป็นเส้นเล็กหรือใช้ใหมฟั่นเป็นเกลียว ขึ้นหนังด้วยหนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หรือหนังงูงวงช้าง ใช้สำหรับบรรเลงคู่กับรำมะนา โดยตีขัดสอดสลับกัน ตามจังหวะหน้าทับ



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที   http://www.livethaimusic.com/

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทสี ซอด้วง

                              ซอด้วง  เป็นเครื่องดนตรีประเภทสีเป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งบรรเลงโดยการใช้คันชักสีกล่องเสียงทำด้วยไม้เนื้อแข็งขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่างสาย เสียงเกิดจากการใช้คันชักสี ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ เช่น วงเครื่องสายไทย วงมโหรีและการบรรเลงเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและดำเนินทำนองในแนวระดับเสียงสูงคู่กับซออู้ที่ดำเนินทำนองในระดับเสียงต่ำซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เครืองดนตรีประเภทตี กลองแขก

            กลองแขก  เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีใช้ฝ่ามือทั้งสองตีมีรูปร่างยาวเป็นรูปทรง กระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัว เรียกว่า “หน้ารุ่ย” ส่วนหน้าเล็ก  เรียกว่า“หน้าด่าน” ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น ใช้เส้นหวายผ่า ซีกเป็นสายโยง เร่งเสียง โยงเส้นห่างๆในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่องจากหาหวายได้ยาก กลองแขก สำหรับหนึ่งมี 2 ลูกลูกเสียง สูงเรียก “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียก “ตัวเมีย” ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับ กันทั้งสองลูก
การตีใช้ฝ่ามือทั้งสอง





ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เครืองดนตรีประเภทตี กลองชาตรี

             กลองชาตรี เป็นเครืองดนตรีประเภทตีเช่นเดียวกับกลองทัดทุกอย่างแต่ขนาดเล็กกว่าแต่ขนาดเล็กกว่ากลองทัดประมาณครึ่งหนึ่งใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ประกอบการแสดงละคอนชาตรีที่เรียกว่า "ปี่พาทย์ชาตรี" ใช้เล่น คู่กับโทนชาตรี จึงเรียกกลองชนิดนี้ซึ่งใช้ตีร่วมวงว่า "กลองชาตรี"แต่มีชื่อเรียกตามเสียง อีกอย่างหนึ่งว่า "กลองตุ๊ก" มีหน้ากว้างวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒๐ ซม. ยาวประมาณ ๒๔ ซม.ขนาดเล็กกว่ากลองทัดราวครึ่งแต่ก่อนคงใช้กลองใบเดียวแต่ต่อมาในตอนหลังนี้ใช้ ๒ ใบเช่นเดียวกับกลองทัด ที่ทำเป็นขนาดเล็กก็เพื่อสะดวกในการขนย้ายไปมาเพราะละคอนชาตรีเป็นชนิดละคอนเร่กลองชาตรีจึงทำขนาดให้เล็กลง เพื่อสะดวกในการขนย้ายละครชนิดนี้แต่ก่อนมีแพร่หลายทางภาคใต้ ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ แต่ได้เปลี่ยนในครั้งโบราณมีแพร่หลายในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เดี๋ยวนี้ก็ยังคงมีอยู่แต่ละคอนชนิดนั้นได้เปลี่ยนแปลงวิธีเล่นไปเสียมากแล้ว



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี รำมะนา

                  รำมะนา    เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ใช้บรรเลงร่วมกับโทนเป็นกลองที่ขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองที่ขึงหนังผายออก ตัวกลองสั้น ทำจากไม้เนื้อแข็งและ หนังสัตว์เป็นหลักรูปร่างคล้ายชามกกะละมัง มีอยู่ 2ชนิด คือ รำมะนามโหรี และ รำมะนาลำตัด รำมะนามโหรี หุ่นรำมะนา หน้ารำมะนา และหมุด ต้องเป็นกลองหน้าเดียว หุ่นรำมะนามีลักษณะคล้าย ชามทำจากไม้ที่เป็น ชนิดและอายุที่เหมาะสมขึ้นหน้า ด้วยหนังสัตว์ หมุดที่ใช้ตรึงหน้ากลองต้องเหมาะสม เนื้อไม้ต้องเรียบ
             รำมะนาใช้ประกอบการเล่นลำตัดและลิเกลำตัดในการประกอบการเล่นลำตัดนั้นจะใช้รำมะนากี่ลูกก็ได้ โดยให้คนตีนั่งล้อมวงและเป็นลูกคู่ร้องไปด้วย



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี ฆ้องคู่


                   ฆ้องคู่   เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีโดยจะมีฆ้องขนาดเล็กสองใบ บรรจุไว้ในหีบไม้   ใบหนึ่งเสียงต่ำ  ใบหนึ่งเสียงสูง     ใช้ผูกคว่ำไว้บนราง  มีลักษณะเป็นกล่องไม้ เวลาตีเกิดเสียงดัง  “โหม้ง-เม้ง”  หรือ “โหน้ง-เนง” ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ชาตรี  ประกอบการแสดงโนรา  และละครชาตรี ประดิษฐ์ขึ้นพร้อมกับการแสดงโนราชาตรีนิยมเล่นกับแถบจังหวัดภาคใต้มาก่อน  นิยมเล่นประกอบการแสดงหนังตะลุง                                                         



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี ฆ้องวงเล็ก


             ฆ้องวงเล็ก      เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีลักษณะเหมือนฆ้องวงใหญ่ทุกอย่างแต่มีขนาดย่อมกว่าและมีลูกฆ้องมากกว่า คือ 18 ลูก ใช้บรรเลงเก็บเช่นเดียวกับระนาดเอกมีขนาดเล็กว่าฆ้องวงใหญ่ วัดจากขอบ วงด้านซ้ายมือถึงขอบวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม. จากด้านหน้าไปด้านหลัง 60 ซม.  เรือนฆ้องสูง20 ซม. วงหนึ่งมีจำนวน 18 ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 9.5 ซม.ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ แต่นั้น มาปี่วงพาทย์  นอกจากจะใช้บรรเลงร่วมในวงปี่ พาทย์แล้วต่อมาได้ย่อขนาดสร้างขึ้นให้ย่อมลงอีกและใช้บรรเลงในวงมโหรีด้วย 
โดย ฆ้องวงเล็ก จะทำหน้าที่ดำเนินลีลาถี่กระชั้นกว่าฆ้องวงใหญ่ มีลูกเก็บลูกสะบัดมากกว่า ฆ้องวงใหญ่




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ฆ้องวงใหญ่

            ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาฆ้องวงใหญ่ใช้ต้นหวายดัดโค้งเป็นวงล้อมไปเกือบรอบตัว คนนั่นตีเรียกว่า "ร้าน" เปิดช่องไว้สำหรับเป็นทางเข้าด้านหลังคนตีลูกฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูกขนาดตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็กเรียงลำดับ ตั้งแต่เสียง ต่ำไปหาเสียงสูง ฆ้องวงใหญ่ใช้บรรเลงทำนองหลักของเพลงผู้ที่จะหัดปี่พาทย์ควรเริ่มหัดตีฆ้องวงใหญ่ก่อน เพื่อจะได้เป็นรากฐานทางดนตรีที่มั่นคงดัดให้โค้งเป็นวงรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องด้านหลังคนตีเป็นทางเข้า ระยะห่างประมาณ 20 –30ซม
           วงฆ้องต้องดัดให้พอดีสำหรับคนเข้าไปนั่ง่ตีได้ไม่อึดอัด ลูกฆ้องวงหนึ่งมี 16 ลูก  ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 ซม อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี ลูกยอดวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 ซม อยู่ทางขวามือ ด้านหลังผู้ตีไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับถือ




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี ฉาบ


        ฉาบ  เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ รูปร่างคล้ายจานเหมือนกับฉิ่ง โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องดนตรีไม่มีระดับเสียง  ฉาบมี 2 ประภท คือ“ฉาบเล็ก” และ “ฉาบใหญ่” ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 –14 ซม ส่วนฉาบใหญ่มีขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 24 –26 ซม เวลาบรรเลงใช้ 2ฝามาตีกระทบกัน ให้เกิดเสียงตามจังหวะในลักษณะคีบแล้วคว่ำมือลง ให้นิ้วนาง กลาง ก้อย คอยเปิด ปิด ห้ามเสียงส่วนมือซ้ายจับฉาบอีกข้างหนึ่ง หงายขึ้นรับฉาบฝาบน เวลาตีเสียงจะดังเป็นเสียง "แช่ " และเมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันอีกในขณะตีประกบกันก็ จะเกิดเสียง “ฉาบ” แต่ถ้าตีแล้วเปิดเสียงก็จะได้ยินเป็น " แช่ " และถ้าเอาบริเวณตอนปลายฉาบตีกระทบกับ โดยใช้นิ้วแนบชิดติดกับขอบฝา เป็นการห้ามเสียง ซึ่งจะใช้ตีสอดสลับกับเสียงแช่ บางครั้งมีเสียงดังเป็น แช่ และวับ สลับกัน




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ซึง


             ซึง  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีชนิดดีด มี 4 สายที่ใช้วิธีเล่นโดยการดีด สมัยก่อนใช้สายลวดเส้นเล็ก ๆ หรือสายเบรกรถจักยานกะโหลกมีรูปร่างกลม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้าน
            ซึง ของชาวเหนือเป็นพิณแบบสายคู่  โดยขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สายโดยแบ่งเป็นสายบน และคู่สายล่าง (สายบน - สายลุ่ม) มีลูกนับแบ่งเป็นช่อง ๆซึงมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และยังมีขนาดใหญ่มาก ๆ เรียกกันว่า ซึงหลวง แต่นิยมเล่นกันทั่วไปมักเล่นเพียง ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึงใช้เล่นเพื่อให้เสียงประสาน และตัดกันในการเล่นเป็นกลุ่ม หรือคณะ หรือเล่นบรรเลงเดี่ยวโดยเลือกขนาดที่ชอบของแต่ละบุคคลซึงแต่ละขนาดต่างมีสำเนียงเฉพาะตัว มีความไพเราะ คนละรูปแบบส่วนประกอบของซึง ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมา เล่นร่วมกับปี่ซอ และ สะล้อ

  

ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี รำมะนา

              รำมะนา  เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ใช้บรรเลงร่วมกับโทน ทำจากไม้เนื้อแข็งและหนังสัตว์เป็นหลัก โดยคัดเลือกไม้ที่เป็นชนิดและอายุที่เหมาะสม นำมากลึงและคว้าน ผึ่งให้แห้ง ขัดผิวให้เรียบทั้งด้านนอกและด้านใน ทาสารเคลือบเงาเพื่อความสวยงามเป็นกลองที่ขึงหนังหน้าเดียว ขึงหนังหน้าเดียวด้วยหนังสัตว์ หน้ากลองที่ขึงหนังผายออก ตัวกลองสั้น

               รำมะนามีลักษณะคล้ายชามกกะละมังซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ รำมะนามโหรี และ รำมะนาลำตัด

               รำมะนามโหรี มีขนาดเล็ก หน้ากว้างประมาณ 26 ซม ตัวรำมะนายาว ประมาณ 7 ซม.หนังที่ขึ้นหน้าตรึงด้วยหมุดโดยรอบ จะเร่งหรือลดเสียงให้สูงต่ำไม่ได้ แต่มีเชือกเส้นหนึ่งที่เรียกว่า “สนับ”สำหรับหนุนข้างในโดยรอบ ช่วยทำให้เสียงสูงได้ บรรเลงใช้ตีด้วยฝ่ามือคู่กับโทนมโหรี

             รำมะนาลำตัดมีขนาดใหญ่ หน้ากว้างประมาณ 48 ซม. ตัวรำมะนายาวประมาณ 13 ซม. ขึ้นหนังหน้าเดียว
โดยใช้เส้นหวายผ่าซีกโยงระหว่างขอบปน้ากับวงเหล็กซึ่งรองก้นใช้เป็นขอบ ของตัวรำมะนาและใช้ลิ่มหลายๆอันตอกเร่งเสียงระหว่างวงเหล็กกับก้นรำมะนา

             รำมะนา เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทย ประเภทต่างๆ และบรรเลงตามโอกาสต่างๆ


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี กลองแขก

                 กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่รับอิทธิพลมาจากชวา  มลายู  กลองชนิดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
 "กลองชะวา" มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรง กระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่กว้างประมาณ 20 ซม. เรียกว่า “หน้ารุ่ย” ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม. เรียกว่า “หน้าด่าน” ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริดการขึ้นหนังใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง โยงเส้นห่างๆในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่อง จากหาหวายได้ยาก กลองแขกสำหรับหนึ่งมี 2 ลูกลูกเสียงสูงเรียก “ตัวผู้” "กลองแขกตัวผู้" มีเสียงที่สูงกว่ากลองแขกตัวเมียโดย เสียง แปะ แปะ ในหน้ามัด และเสียง โจ๊ะ ในหน้าตาด ลูกเสียงต่ำเรียก “ตัวเมีย”
"กลองแขกตัวเมีย" มีเสียงที่ต่ำกว่ากลองแขกตัวผู้ โดย เสียง ทั่ม ในหน้ามัด และเสียง จ๊ะ ในหน้าตาด
ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก

                กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคกลาง ใช้เล่นในวงมโหรี วงปี่พาทย์ และ วงกลองแขก ใช้ตีหน้าทับต่าง ๆ ในเพลงไทย เช่น สองไม้ ปรบไก่ ประหม่า ฯลฯ



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีประเภทตี กลองทัด

       กลองทัด เป็นเครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ประกอบจังหวะที่ขึงด้วยหนังสองหน้าเป็นกลองของไทยมาแต่โบราณ
ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงปีพาทย์มาจนถึงปัจจุบันที่ตัวกลองทำด้วยไม้แก่น เนื้อแน่นแข็งใช้กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรงใช้กลึงคว้านข้างในจน เป็นโพรงตรงกลางป่องออกนิดหน่อย กลองทัดมีขนาดหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองข้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ  46 ซม.ตัวกลองยาวประมาณ 41 ซม.ขึ้นหน้าทั้ง 2 ข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควายตรึงด้วยหมุด ซึ่งเรียกว่า "แส้"ทำด้วยไม้ หรืองา หรือกระดูกสัตว์ หรือโลหะ ตรงกลางหุ่นกลองด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับแขวน เรียก กันว่า "หูระวิง" เวลาใช้บรรเลงตีเพียงหน้าเดียว หน้าหนึ่งติดข้าวสุกผสมกับขี้เถ้าปิดตรงใจกลาง
 แล้ววาง กลองทางด้านนั้นคว่ำตะแคงขอบไว้บนหมอนหนุน มีขาหยั่งสอดค้ำตรงหูระวิง
ใช้ตีด้วยท่อนไม้ 2 อัน  กลองทัดมี 2 ลูก ลูกที่มีเสียงสูง ดัง “ตุม” เรียกว่าตัวผู้ และ ลูกที่มีเสียงต่ำตีดัง “ต้อม” เรียกว่าตัวเมีย ใช้ไม้ตี 1 คู่ มีขนาดยาวประมาณ 54 ซม.
   กลองทัด    เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะที่ขึงด้วยหนังสองหน้าเป็นกลองของไทยมาแต่โบราณใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงปีพาทย์มาจนถึงปัจจุบัน







ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติเครื่องคนตรี ขลุ่ย




      ขลุ่ย  เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 
ดนตรีไทยได้เจริญรุ่งเรืองมาก  ประชาชนนิยนเล่นกันมาก เครื่องดนตรีในสมัยนี้ก็ได้มาแต่กรุงสุโขทัยร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภท กลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ขลุ่ย ปี่ ซอ และกระจับปี่ แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏในกฎมนเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) แห่งกรุงศรีอยุธยาว่าห้ามร้องเพลงหรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขตพระราชฐานก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่างที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน

 
     ขลุ่ยนับเป็นเครื่องดนตรีโบราณของไทยอีกชนิดหนึ่ง  โดยทั่วไปแล้วขลุ่ยเป่าได้โดยไม่ต้องใช้ลิ้น เพียงแต่เจาะรูที่ท่อไม้ไผ่ก็เป่าได้แล้วอย่างขลุ่ยผิวของจีน  ต่อมาจึงเกิดการใช้ไม้ทำเป็นเครื่องบังคับลมเรียกว่า “ดาก”เข้าไปในตัวขลุ่ย และเจาะลิ้นให้เกิดเสียงการผสมของดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นและตอนปลายนั้น  ก็ยังไม่มีขลุ่ยสำหรับปี่พาทย์นั้นมีแต่เครื่องห้า ซึ่งย่อมจะใส่ขลุ่ยลงไปไม่ได้ เพราะมีแต่ปี่พาทย์ไม้แข็งเท่านั้น มโหรีหญิงมาเพิ่มเป็นเครื่องหกเมื่อตอนปลายกรุงศรีอยุธยา และขลุ่ยก็เริ่มมีบทบาทตอนนี้ คือ การเพิ่มรำมะนาเข้าไปคู่กับโทน และมีการเพิ่มขลุ่ยลงไปอีกเลาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขลุ่ย ได้เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทมาก วงดนตรีหลายประเภทขาดขลุ่ยไม่ได้เอาทีเดียว  เช่น  วงมโหรีก็ต้องใช้ขลุ่ย  เครื่องสายไทย หรือเครื่องสายผสมชนิดใดๆ
ก็ต้องใช้ขลุ่ยทั้งนั้น จากนั้นวงปี่พาทย์ไม้นวมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล็ก  เครื่องใหญ่  ก็ต้องใช้ขลุ่ยเป่าแทนปี่
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยหลังก็ใช้ขลุ่ยแทนปี่เหมือนกัน

    ก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่างที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน
มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ และมีลิ้นซึ่งทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง
หลังจากนั้นจึงปรับเปลี่ยนรูปร่าง และวิธีเป่าจนกลายมาเป็นขลุ่ยอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นขลุ่ยเพียงออ




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล