จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ซออู้ เครื่องดนตรีไทยประเภทสี


          ซออู้ นับเป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งที่ใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น  ๆ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วงมีปรากฏในภาคอีสานมานานแล้ว  โดยเฉพาะในพิธีเชิญผีไท้  ผีแถน  ฯลฯซออู้ เป็นซอ ๒ สาย ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรีขนาดใหญ่ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันซอ หรือ "ทวน" ทำด้วยไม้จริงเช่น ไม้แก้ว หรือทำด้วยงาช้างตันก็มี ที่หน้าซอตรงกลางที่ขึ้นหนัง ใช้ผ้าม้วนกลมๆเป็นหมอนหนุนสายให้พันหน้าซอ คันชัก ทำด้วยไม้จริงหรืองาใช้ขนหางม้าประมาณ ๑๖๐-๒๐๐ เส้น สำหรับขึ้ยสายคันชักเหมือนสายกระสุน หรือหน้าไม้

          ซออู้ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตาม ทำหน้าที่บรรเลงคู่ไปกับซอด้วงและระนาดเอกในเวลาที่ซอด้วงหรือระนาดเอกทำหน้าที่ล้อและขัด ซออู้ใช้บรรเลงในวงเครื่องสายวงเครื่องสายผสม วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซออู้ประกอบด้วยส่วนต่าง  ๆ  คือ  กระโหลก   หรือ  “กะโปะ” ทำจากกะลามะพร้าวที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป  มีรูปทรงใหญ่ลึก นำมาเลื่อยออกนิดหน่อยเพื่อใช้เป็นหน้าซอขึงหนังหนังซออาจทำจากงูเหลือม  หนังแลน  (ตะกวด)  หนังเก้งนำมาตัดเป็นรูปทรงหน้าซอนำมาแช่น้ำให้หนังอ่อน ขุดให้หนังบางลงตามความต้องการ  จากนั้นจึงขึงหน้าซอตามรูปทรง ทิ้งไว้จนแห้งอยู่ตัวการทำด้ามซอใช้ไม้เนื้อแข็งกลึงให้กลม และมีสัดส่วนเป็นส่วนหัวส่วนลำตัว  จากนั้นจึงเจาะรูที่กะลามะพร้าว เพื่อสอดด้ามซอลงไป  ช่างพื้นบ้านจะทำลิ่มเป็นไม้ชิ้นเล็ก  ๆ  ขัดไว้ ทำเป็นรับสายซออีกด้วย

          การขึงสายซออู้  สายซอจะทำด้วยเส้นไหมหรือเอ็น  ซึ่งแต่เดิมทำด้วยเส้นลวดเล็ก  ๆ เรียก  “ลวดทอง”  จะมีที่รับสายซอด้านหน้าซอ  ทำเป็นชิ้นไม้เล็ก  ๆ เรียกว่า  “หมอน”  ส่วนใกล้กับลูกบิด  หรือที่ขึ้นสายซอไว้ให้สะดวกต่อการขึ้นสายซอลูกบิดซอทำด้วยไม้เนื้อแข็งมี  2  ลูก  ใช้เร่งเสียงสูง – ต่ำคันชักซอ  ทำด้วยไม้ไผ่  ส่วนสายทำด้วยหางม้า  จำนวนหลายเส้นใช้ขี้ผึ้งทางรูดไปตามเส้นหางม้าให้เกิดความฝืด  ในปัจจุบันใช้ยางสนแทนขี้ผึ้ง

          การเทียบเสียงซออู้  ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยปิดมือบนและนิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆจะได้เสียง ซอล เพื่อเทียบเสียงสายเอก ส่วนสายทุ้ม ให้ปิดมือล่างหมดจนถึงนิ้วก้อย เป่าลมเบา ก็จะได้เสียง โด ตามต้องการ เพื่อเทียบเสียงสายทุ้มให้ตรงกับเสียงนั้น


วิธีการเก็บรักษา และซ่อมแซม
-  เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้ลดสายประมาณครึ่งรอบลูกบิดหรือเลื่อนหมอนขึ้นไปไว้บนขอบกะโหลก
-  แขวน หรือใส่ถุงเก็บในตู้ให้มิดชิด
-  การใส่สายเอก-ทุ้ม ใส่สายเอก (จะเล็กกว่าสายทุ้ม) ที่ปลายลูกบิดสายเอกซึ่งอยู่ด้านล่างจะอยู่สายนอกใส่สายทุ้มที่ปลายลูกบิดสายทุ้มซึ่งอยู่บน สายจะอยู่ด้านในหมุนลูกบิดกลับทางกัน
-  การหยอดยางสนบนกะโหลกซอ ให้หยอดเฉพาะตำแหน่งที่หางม้าผ่านเท่านั้นหากฝุ่นยางสนเกาะขอบกะโหลกซอ เมื่อเล่นแล้วต้องเช็ดให้สะอาด
-  หากสายขาดบ่อยครั้งหาสายไม่ได้ ให้ใช้เอ็นเบอร์ 90 แทนสายเอกและเบอร์ 110 หรือ 120 แทนสายทุ้ม
- การรัดอก ให้รัดต่ำจากลูกบิดสายเอกลงมาประมาณ 12 เซนติเมตร และส่วนที่เหลือจากรัดออก ถึงหมอนซอ ประมาณ 36 เซนติเมตร รัดอกให้ลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
- ยางสนทำให้เกิดความหนืดระหว่างหางม้ากับสายซอเป็นจุดเกิดเสียง และกะโหลกซอ เป็นส่วนขยายเสียง โดยมีหมอนเป็นสะพานเสียง
- หมอนซออู้จะใช้ไม้ระกำหุ้มด้วยผ้า หรือยางลบก้อนตัดแบ่งครึ่งหุ้มด้วยผ้า  หรือถ้าหาไม่ได้ให้ใช้กระดาษท้วนเป็นก้อนกลมแทน




ติดตามข่าวสารเกียวกับดนตรีไทยได้ที http://www.livethaimusic.com/ 
 ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%89

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น