จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กรับคู่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี




กรับคู่  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มักจะทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้จริง 2 อันเหลาให้เรียบและเกลี้ยง หนาตามขนาดของเนื้อไม้ หัวและท้ายกว่าใหญ่ลดหลั่นกันเล็กน้อย รูปร่างแบน ตีด้วยมือทั้งสองข้าง โดยจับข้างละอันให้ผิวด้านบนของไม้กระทบกัน ตีลงบริเวณใกล้กับตอนหัว มีเสียงดัง กรับ กรับ โดยมากจะใช้ตีกำกับจังหวะในวง ปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรี โดยเฉพาะในเพลงร่ายต่างๆ ในวงกลางยาวก็นิยมใช้กรับคู่ไปตีกำกับจังหวะหนัก ที่เรียกว่ากรับคู่คงเป็นเพราะมีเป็นคู่ 2 อัน บางทีก็เรียกว่า " กรับไม้ "

 
 
 
ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A

กรับพวง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


กรับพวง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีในการเสด็จออก ในพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าพนักงานจะรัวกรับ และใช้กรับพวงตีเป็นจังหวะ ในการขับร้อง กำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ ผสมโลหะ ร้อยเชือกติดกันเป็นพวง ทั้งไม้และโลหะทำเป็นแผ่นบางๆสลับกัน โดยชิ้นนอกสุด 2ชิ้น จะเหลาหนา หัว และท้ายงอนโค้งงอน ด้านจับเล็ก ตอนปลายใหญ่ ร้อย เชือกทางด้านปลาย ให้หลวมพอประมาณ เวลาตีมือหนึ่งจะจับกัมตอนปลาย ให้หัวตีลงบนมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีเสียงไม้กับโลหะกระทบกัน เดิมใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาณ เช่น ในการเสด็จออกท้องพระโรงของพระเจ้าแผ่นดิน  ที่เรียกว่า  " รัวกรับ "  โดยเฉพาะในเรือสุพรรณหงส์  พระราชพิธีทอดผ้าพระกฐินทางชลมารคเจ้าพนักงานจะรัวกรับ เพื่อบอกฝีผายทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและออกเรือในวงการดนตรีจะใช้กรับพวงตีร่วมในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละคอนนอก  ละครใน   ตลอดจนโขน  ละคอนที่แสดงภายในโดยเฉพาะเพลงร่าย   


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กรับเสภา เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี





       กรับ  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มักจะทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่ เพื่อใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบนเกิดเป็นเสียง กรับเป็นเครื่องตีกำกับจังหวะอีกชนิดหนึ่ง เวลาตีใช้มือหนึ่งถือตรงหัว แล้วฟาดลงไปบน อีกฝ่ามือ หนึ่ง เกิดเป็นเสียงกรับขึ้น และมักใช้กรับตีเป็นจังหวะ ในการขับร้อง เพลงเรือ ดอกสร้อยและใช้บรรเลงขับร้องในการแสดง
นาฎกรรมด้วยกรับ  กรับเป็นเครืองดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบใน เวลาบรรเลงผู้ขับเสภากระทบกันเข้าจังหวะ

       กรับเสภา  เป็นเครื่องดนตรีตีกำกับจังหวะอีกชนิดหนึ่ง  ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะไม้ชิงชัน เหลาให้เป็นสี่เหลี่ยมด้านบนลบเหลี่ยมเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้บาดมือและสามารถกลิ้งตัวของมันเอง กลอกกระทบกันได้สะดวก ด้านล่างนูนโค้งเล็กน้อย  เดิมใช้ขยับตีในการขับเสภา ดังที่เรียกว่า " ขยับกรับขับเสภา " ซึ่งผู้ขับ เสภาจะเป็นผู้ขยับเอง  โดยใช้กรับ 2 คู่ ขยับคู่ละมือ  ขับเสภาไปพลาง   ขยับกรับสอดแทรกไปกับทำนองขับ  

       วิธีการขยับกรับได้หลายวิธี  อันถือเป็นศิลปชั้นสูงอย่างหนึ่งในการขยับกรับขับเสภา  ซึ่งนิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณในปัจจุบันคนขยับขับเสภาลดน้อยลง  การเล่นปี่พาทย์เสภาก็เลือนหายไป คงเหลือกรับไว้สำหรับตีกำกับจังหวะหนักในวงปี่พาทย์ ซึ่งลดเหลือคู่เดียว  เวลาตีมือหนึ่งจับกรับคว่ำมือลง   อีกมือหนึ่งจับกรับหงายมือขึ้นตีกระทบกัน  ที่ถูกต้องควรตีให้มีเสียงกล่ำกันเล็กน้อย เสียงจะดังไพเราะ


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระนาดทุ้มเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


ระนาดทุ้มเหล็ก   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 4ทรงมีพระราชดำริให้สร้างระนาดทุ้มเหล็กโดยถอดแบบมาจากหีบเพลงฝรั่ง ที่กำเนิดเสียงโดยกลไกของเครื่องเขี่ยที่เป็นหวีเหล็กซึ่งอยู่ภายใน  ลูกระนาดให้ทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน 16 หรือ 17 ลูกลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ 6 ซมและลดหลั่นลง ไปจนถึงลูกยอด ซึ่งยาว ประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซมตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ 20 ซมมีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วยรางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้าเพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบนประมาณ 26 ซมระนาดทุ้มเหล็กนั้นเหมือนกับระนาดเอกเหล็กแต่ทำให้มีขนาดใหญ่กว่า
ทั้งขนาดของรางและลูกระนาด และมีเสียงทุ้มกว่าระนาดเอกเหล็ก

ระนาดทุ้มเหล็ก   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี จะใช้ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ระนาดทุ้มเหล็กจะดำเนินทำนองห่างๆ

ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

ระนาดเอกเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

ดนตรีไทย: ระนาดเอกเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี: "ระนาดเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีตีที่ ประดิษฐ์สร้างขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ในลักษณะเดียวกันจึงนำมากล่าวรวมไว้เสียในหมวด เดียวกัน ระนาดทอง..."

ระนาดเอกเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี



ระนาดเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีตีที่ ประดิษฐ์สร้างขึ้นโดยเลียนแบบเครื่องไม้และใช้ในลักษณะเดียวกันจึงนำมากล่าวรวมไว้เสียในหมวด เดียวกัน ระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็กนี้ประดิษฐ์ขึ้นใน รัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ลูกระนาดแต่เดิมทำด้วยทองเหลืองจึงเรียกกันมาว่า ระนาดทองต่อมามีผู้ทำลูก ระนาดด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอกจึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทองและระนาดเหล็กใช้วางเรียงบนรางไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไปตามขอบรางสำหรับ รองหัวท้ายลูกระนาดแทนร้อยเชือกผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้แต่เดิมทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันมาว่า ระนาดทองต่อมามีผู้ทำลูกระนาด ด้วยเหล็กก็มี แต่ทำตามแนวระนาดเอกจึงเรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก ทั้งระนาดทอง และระนาดเหล็กใช้วาง เรียงบนไม้มีผ้าพันไม้ หรือใช้ไม้ระกำวาง พาดไปตามขอบรางสำหรับรองหัวท้ายลูกระนาดแทน ร้อยเชือก ผูกแขวนอย่างลูกระนาดที่ทำด้วยไม้คงจะเนื่องจากมีน้ำหนักมาก เกรงว่าถ้าร้อยเชือกแขวน กำลังโขน 2ข้างจะทานน้ำหนักไม่อยู่ระนาด 2 ชนิดนี้ ทั้งที่ทำลูกด้วยทองเหลืองและเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก ลูกต้นยาว ประมาณ 23.5 ซม. ลูกยอดยาวประมาณ 19 ซม.และกว้างประมาณ 4 ซม.ลูกต้นๆขูดโลหะ ตอนกลางด้านล่างจนบางเพื่อให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ แต่ลูกใกล้ๆลูกยอด ตลอดจนลูกยอดคงโลหะไว้จนหนากว่า 1 ซม. รางไม้ที่ใช้วางลูกระนาดนั้น ทำเป็นรูปหีบสี่เหลี่ยมแต่ยาว
ประมาณ 1 เมตร ปากราง แคบกว่าส่วนยาวของลูกระนาดคือกว้างประมาณ 18 ซม. เบื้องล่างของรางทำเท้ารอง 4 เท้าติดลูกล้อ เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย

ระนาดเหล็ก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ใช้บรรเลงในวงมโหรี วงเครื่องสายผสมวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ ไม้แข็งวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์มอญ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง ในการล้อและขัดการดำเนินทำนองจะเป็นไปอย่างละเอียด เรียกว่า เก็บ


วิธีการเล่นเครื่องดนตรี ระนาดเหล็ก

-  ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิโดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการ จับไม้ระนาดให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้นิ้วโป้งอยู่ด้านข้าง นิ้วกลางนิ้วนาง นิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
-  เมื่อบรรเลงเสร็จต้องปลดเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักของผืนตลอดเวลา
-  ควรเก็บไม้ระนาดไว้ใต้ราง ไม่วางทิ้งบนพื้น หรือวางบนผืนระนาด เพราะอาจจะหักได้ ในกรณีนั่งทับ
-  การเคลื่อนย้ายระนาดควรใช้การยก แทนการลากหรือดึงเพราะจะทำให้ระนาดล้ม อาจเสียหายได้
-  ถ้าตะกั่วใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ ลนเพื่อให้ตะกั่วอ่อนตัว แล้วติดไว้ตามเดิมห้าม   ใช้เทียนไขลนเพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่วทำให้ลื่นและติดไม่อยู่

ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ซออู้ เครื่องดนตรีไทยประเภทสี


          ซออู้ นับเป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งที่ใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น  ๆ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วงมีปรากฏในภาคอีสานมานานแล้ว  โดยเฉพาะในพิธีเชิญผีไท้  ผีแถน  ฯลฯซออู้ เป็นซอ ๒ สาย ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรีขนาดใหญ่ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันซอ หรือ "ทวน" ทำด้วยไม้จริงเช่น ไม้แก้ว หรือทำด้วยงาช้างตันก็มี ที่หน้าซอตรงกลางที่ขึ้นหนัง ใช้ผ้าม้วนกลมๆเป็นหมอนหนุนสายให้พันหน้าซอ คันชัก ทำด้วยไม้จริงหรืองาใช้ขนหางม้าประมาณ ๑๖๐-๒๐๐ เส้น สำหรับขึ้ยสายคันชักเหมือนสายกระสุน หรือหน้าไม้

          ซออู้ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตาม ทำหน้าที่บรรเลงคู่ไปกับซอด้วงและระนาดเอกในเวลาที่ซอด้วงหรือระนาดเอกทำหน้าที่ล้อและขัด ซออู้ใช้บรรเลงในวงเครื่องสายวงเครื่องสายผสม วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซออู้ประกอบด้วยส่วนต่าง  ๆ  คือ  กระโหลก   หรือ  “กะโปะ” ทำจากกะลามะพร้าวที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป  มีรูปทรงใหญ่ลึก นำมาเลื่อยออกนิดหน่อยเพื่อใช้เป็นหน้าซอขึงหนังหนังซออาจทำจากงูเหลือม  หนังแลน  (ตะกวด)  หนังเก้งนำมาตัดเป็นรูปทรงหน้าซอนำมาแช่น้ำให้หนังอ่อน ขุดให้หนังบางลงตามความต้องการ  จากนั้นจึงขึงหน้าซอตามรูปทรง ทิ้งไว้จนแห้งอยู่ตัวการทำด้ามซอใช้ไม้เนื้อแข็งกลึงให้กลม และมีสัดส่วนเป็นส่วนหัวส่วนลำตัว  จากนั้นจึงเจาะรูที่กะลามะพร้าว เพื่อสอดด้ามซอลงไป  ช่างพื้นบ้านจะทำลิ่มเป็นไม้ชิ้นเล็ก  ๆ  ขัดไว้ ทำเป็นรับสายซออีกด้วย

          การขึงสายซออู้  สายซอจะทำด้วยเส้นไหมหรือเอ็น  ซึ่งแต่เดิมทำด้วยเส้นลวดเล็ก  ๆ เรียก  “ลวดทอง”  จะมีที่รับสายซอด้านหน้าซอ  ทำเป็นชิ้นไม้เล็ก  ๆ เรียกว่า  “หมอน”  ส่วนใกล้กับลูกบิด  หรือที่ขึ้นสายซอไว้ให้สะดวกต่อการขึ้นสายซอลูกบิดซอทำด้วยไม้เนื้อแข็งมี  2  ลูก  ใช้เร่งเสียงสูง – ต่ำคันชักซอ  ทำด้วยไม้ไผ่  ส่วนสายทำด้วยหางม้า  จำนวนหลายเส้นใช้ขี้ผึ้งทางรูดไปตามเส้นหางม้าให้เกิดความฝืด  ในปัจจุบันใช้ยางสนแทนขี้ผึ้ง

          การเทียบเสียงซออู้  ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยปิดมือบนและนิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆจะได้เสียง ซอล เพื่อเทียบเสียงสายเอก ส่วนสายทุ้ม ให้ปิดมือล่างหมดจนถึงนิ้วก้อย เป่าลมเบา ก็จะได้เสียง โด ตามต้องการ เพื่อเทียบเสียงสายทุ้มให้ตรงกับเสียงนั้น


วิธีการเก็บรักษา และซ่อมแซม
-  เมื่อเล่นเสร็จแล้วให้ลดสายประมาณครึ่งรอบลูกบิดหรือเลื่อนหมอนขึ้นไปไว้บนขอบกะโหลก
-  แขวน หรือใส่ถุงเก็บในตู้ให้มิดชิด
-  การใส่สายเอก-ทุ้ม ใส่สายเอก (จะเล็กกว่าสายทุ้ม) ที่ปลายลูกบิดสายเอกซึ่งอยู่ด้านล่างจะอยู่สายนอกใส่สายทุ้มที่ปลายลูกบิดสายทุ้มซึ่งอยู่บน สายจะอยู่ด้านในหมุนลูกบิดกลับทางกัน
-  การหยอดยางสนบนกะโหลกซอ ให้หยอดเฉพาะตำแหน่งที่หางม้าผ่านเท่านั้นหากฝุ่นยางสนเกาะขอบกะโหลกซอ เมื่อเล่นแล้วต้องเช็ดให้สะอาด
-  หากสายขาดบ่อยครั้งหาสายไม่ได้ ให้ใช้เอ็นเบอร์ 90 แทนสายเอกและเบอร์ 110 หรือ 120 แทนสายทุ้ม
- การรัดอก ให้รัดต่ำจากลูกบิดสายเอกลงมาประมาณ 12 เซนติเมตร และส่วนที่เหลือจากรัดออก ถึงหมอนซอ ประมาณ 36 เซนติเมตร รัดอกให้ลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
- ยางสนทำให้เกิดความหนืดระหว่างหางม้ากับสายซอเป็นจุดเกิดเสียง และกะโหลกซอ เป็นส่วนขยายเสียง โดยมีหมอนเป็นสะพานเสียง
- หมอนซออู้จะใช้ไม้ระกำหุ้มด้วยผ้า หรือยางลบก้อนตัดแบ่งครึ่งหุ้มด้วยผ้า  หรือถ้าหาไม่ได้ให้ใช้กระดาษท้วนเป็นก้อนกลมแทน




ติดตามข่าวสารเกียวกับดนตรีไทยได้ที http://www.livethaimusic.com/ 
 ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%89

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กลองทัด เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี



          กลองทัด เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี  เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่เป็นกลองที่ชาวไทยทำขึ้นใช้แต่เดิม ขึ้นหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควายตรึงด้วยหมุดหุ่นกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรงมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงปี่พาทย์ กลองมีห่วงสำหรับแขวน เรียกว่า “หูระวิง”กลองทัด มีขนาดหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองข้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 46 ซมตัวกลองยาวประมาณ 41 ซม ตัวกลองทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในเป็นโพรงตรงกลางป่องเล็กน้อย มีห่วงสำหรับแขวน ตั้งขาหยั่ง 1 ห่วง เวลาตีใช้ตีเพียงหน้าเดียวโดยวางพิงขาหยั่ง ให้หน้ากลองด้านหนึ่งเอียงลาดไปทางผู้ตี กลองทัดชุดหนึ่งมี 2 ลูกมีระดับเสียงต่างกันเล็กน้อย สำหรับไม้ตี ใช้ไม้รวก 2 ท่อน มือถือข้างละ 1 ท่อนกลองทัดมี 2 ลูกลูกที่มีเสียงสูง ดัง “ตุม” เรียกว่าตัวผู้ และ ลูกที่มีเสียงต่ำตีดัง “ต้อม”เรียกว่าตัวเมีย ใช้ไม้ตี 1 คู่ มีขนาดยาวประมาณ 54 ซมกลองทัด เป็นเครื่องดนตรีไทย ที่ประกอบอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้บรรเลงคู่กับตะโพน พบเห็นได้ในการแสดงประเภทโขน ลิเก เป็นต้น 



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีจับไม้ระนาด ของเครืองคนตรีไทยระนาดเอก



วิธีจับไม้ระนาด ของเครืองคนตรีไทยระนาดเอก
          การจับไม้ระนาดเอกที่ถูกวิธีมีส่วนช่วยทำให้การบรรเลงมีคุณภาพและเกิดความไพเราะ หลักการจับไม้ระนาดเอกที่ถูกต้องคือนิ้วทุกนิ้วจะต้องจับไม้ระนาดให้แน่นโดยมีความยาวประมาณ 1 ในสามของก้านไม้เมื่อเริ่มจับให้หงายฝ่ามือขึ้นให้ก้านไม้ระนาดวางพาดกระชับกับร่องกลางตรงข้อมือและเลยเข้าไปใต้แขนเล็กน้อย นิ้วชี้เหยียดหงายรองรับก้านไม้ระนาดไว้ นิ้วหัวแม่มือบีบกระชับด้านข้างของก้านไม้นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อยรวบจับก้านไม้ระนาดไว้ให้แน่นเมื่อจับก้านไม้ระนาดแน่นแล้ว ให้พลิกฝ่ามือและแขนคว่ำลงโดยไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อโดยให้ก้านไม้ระนาดยังคงอยู่ระหว่างตรงกลางร่องมือพอดีข้อศอกและไหล่แนบกับลำตัวโดยให้แนวไม้ระนาดกับแขนของผู้บรรเลงเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน

การจับไม้ระนาดเอกแบ่งออกเป็น 3  แบบคือ
           -  การจับแบบ "ปากกา" คือการจับโดยให้ก้านไม้ระนาดแนบอยู่กลางร่องมือใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อย รวบกำก้านไม้ระนาดให้นิ้วเรียงชิดติดกันส่วนนิ้วหัวแม่มือวางแนบขนานไปกับก้านไม้และปลายนิ้วชี้แตะอยู่บนก้านไม้ระนาดทำมุมประมาณ 45 องศา ประโยชน์ของการจับไม้ระนาดแบบปากกาทำให้มีความคล่องตัวใช้กับการบรรเลงประเภทเพลงลูกล้อลูกขัดเพลงประเภทสองไม้ หรือลูกรัวในการบรรเลงเพลงเดี่ยว อีกทั้งมีความเหมาะสม สำหรับการฝึกหัดเบื้องต้นใน ลักษณะการตีฉากเพื่อฝึกหัดให้เสียงระนาดชัดเจนและดังสม่ำเสมอกัน
           -  การจับแบบ "ปากไก่" ลักษณะคล้ายการจับแบบปากกาแต่แตกต่างที่ตรงนิ้วชี้คือ การจับไม้แบบปากไก่นิ้วชี้จะตกลงจากด้านบนของก้านไม้ระนาดโดยอยู่ด้านตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือก้านไม้ตีติดอยู่ด้านข้างตำแหน่งประมาณกกเล็บหรือโคนเล็บ ประโยชน์ของการจับไม้แบบปากไก่ทำให้เกิดเสียงที่มีความสง่างามมีความภูมิฐาน  และนุ่มนวล การจับไม้แบบปากไก่เหมาะสมที่จะนำ ไปใช้ในการบรรเลงเพลงพิธี
           - การจับแบบ "ปากนกแก้ว" ลักษณะคล้ายการจับแบบปากไก่แต่การจับแบบปากนกแก้วจะต้องให้ก้านไม้ระนาดติดอยู่ด้านข้างนิ้วชี้บริเวณเส้นข้อข้างบนของนิ้วประโยชน์ของการจับไม้แบบปากนกแก้วทำให้เสียงในการบรรเลงมีพลังอำนาจกล่าวคือเสียงของระนาดเอกจะโตและลึก การจับแบบปากนกแก้วมีข้อเสียบาง ประการตรงที่ ว่าเมื่อบรรเลงแล้วเสียงของระนาดจะไม่มีความไพเราะและกลมกล่อม เท่าที่ควร

วิธีการตีระนาดเอก  มีดังต่อไปนี้

  -  ตีสองมือพร้อมกันเป็นคู่ต่างๆ
  -  ตีฉาก คือวิธีการตีให้มือทั้งสองข้างพร้อมกันและได้น้ำหนักประมาณกัน
  -  ตีเก็บคู่แปด คือการตี 2 มือพร้อมกันเป็นคู่ 8 อาจเป็นหรือไม่เป็นทำนองก็ได้
  -  ตีกรอ คือการตีคู่ต่างๆ สองมือสลับกัน ด้วยน้ำหนักสองมือประมาณกัน
  -  ตีสะเดาะ คือการตีสะบัดยืนคู่ 8 สามครั้ง ห่างเท่าๆกันโดยเร็ว
  -  ตีสะบัด คือการตีคู่ 8 สามครั้ง ห่างกันโดยเร็ว ให้เสียงเคลื่อนที่เป็นคู่เสียงต่างๆ
  -  ตีขยี้ คือการตีเสียงให้ถี่กว่าตีเก็บเป็นสองเท่า



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://pirun.ku.ac.th/~b4711078/ta.htm

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระนาดเอก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


          ระนาดเอก เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี เดิมที่ได้วิวัฒนาการมาจาก"กรับ"แต่เดิมนั้นคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ แต่ต่อมาก็เกิดความคิดว่าถ้าเอา"กรับ"หลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกันแล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกันและขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า “ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า “ผืน”
            เครื่องดนตรีไทย ระนาดเอก นั้นในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซมกว้างราว 5 ซมและหนา 1.5 ซมมีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาดมาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่งจะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้าหน้าที่ของระนาดเอกใช้บรรเลงในวงมโหรี วงเครื่องสายผสม วงปี่พาทย์ไม้นวมวงปี่พาทย์ ไม้แข็งวงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปี่พาทย์มอญโดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง ในการล้อและขัด การดำเนินทำนองจะเป็นไปอย่างละเอียด
 เรียกว่า " เก็บ"
ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีไทย ระนาด
          ระนาดนั้นถือว่า เป็น เครื่องดนตรีไทย ในหมวดหมู่ ของเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี ซึ่ง ระนาด จะมีลูกระนาด เป็นส่วนประกอบ ที่สำคัญเพราะลูกระนาดนั้น จะเป็นต้นกำเนิด ของเสียง ส่วนประกอบของ ระนาดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งได้แก่
           - รางระนาด  ส่วนนี้จะใช้สำหรับ เป็นที่ขึงผีน หน้าที่ของรางระนาดนั้นจะเปรียงเสมือนกล่อง ขยายเสียง ทำให้เกิด เสียงที่ไพเราะกังวาน ลักษณะของรางระนาด นั้น โดยทั่วไปแล้วนิยมทำ เป็นรูปโค้ง  คล้ายๆ กับเรือ และจะมีฐานรองรับ เพื่อให้ระนาดตั้ง กับพื้นได้ซึ่งส่วนที่รองรับจะอยู่ตรง กลางของส่วนโค้ง เรียกว่า เท้าระนาดเอก

          - ผีนระนาด     ส่วนของผีนระนาดก็คือ ส่วนที่ขึงอยู่บนราง ระนาด  จะประกอบไปด้วยลูก ระนาด ที่ใช้เชือกร้อย แล้วขึงไว้กับรางระนาด  โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบด้วยลูกระนาด จำนวนประมาณ 21 ลูก  แต่บางครั้งก็อาจจะมี ลูกระนาด ถึง 22 ลูกก็ได้ในหนึ่งผีน ซึ่งจะเรียกลูกระนาดที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า ลูกหลีก สำหรับระนาดที่มี 22 ลูกนั้น นิยมใช้สำหรับเล่นในวงปี่พาทย์มอญ และในวงปี่พาทย์นางหงส์ โดยลูกระนาดที่อยู่ทาง ด้านซ้ายมือของผู้เล่นระนาด จะเรียกว่า ลูกต้นหรือลูกทวน จะเป็นเสียงต่ำสุด ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูป คล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้าย รางระนาดเราเรียกว่า “โขน”
            - ไม้ตีระนาด  สำหรับไม้ตีระนาดนั้น นิยมทำมาจากไม้ไผ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3-4 ซม. ส่วนความหนาของไม้ตีระนาดนั้น จะแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
  ไม้นวม จะให้เสียงทีฟังแล้วรู้สึกได้ถึงความไพเราะ นุ่มนวลที่หัวของไม้จะใช้ผ้าพันให้เป็นนวมก่อนจาก  นั้นจะใช้เส้นได้พันทับอีกทีไม้ตีระนาดชนิดนี้นิยมใช้เล่นบรรเลงในวงมโหรี,วงปี่พาทย์
  ไม้แข็ง ซึ่งจะให้เสียงที่ฟังแล้วรู้สึกถึงความมีอำนาจ และแข็งแกร่งลักษณะของไม้จะใช้ด้ายพันไว้ที่ส่วนหัวของไม้
ลักษณะไม้ตีระนาดมีดังนี้     
- ไม้แข็ง ปลายไม้ระนาด พอกด้วยผ้าชุบน้ำรักจนแข็ง
- ไม้นวม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันแล้วถักด้วยด้ายจนนุ่ม
- ไม้ตีระนาดทุ้ม ปลายไม้ระนาด ใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่มเพื่อตีให้เกิดเสียงทุ้ม
- ไม้ตีระนาดเหล็ก ปลายไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะรูตรงกลางแล้วเอาไม้เป็นด้ามสำหรับถือมีขนาดใหญ่กว่าไม้ตีระนาดเอกธรรมดา
- ไม้ตีระนาดทุ้มเหล็ก ทำลักษณะเดียวกับไม้ตีฆ้องวง แต่ปลายไม้พันด้วยหนังดิบ  เพื่อให้แข็งเวลาตี จะเกิดเสียงได้




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที่  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระนาดทุ้ม เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี



          ระนาดทุ้ม เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี  ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเลียนแบบระนาดเอกแต่ให้มีเสียงที่ทุ้มต่ำและประดิษฐ์วิธีการบรรเลงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากระนาดเอก คือให้มีลีลาโลดโผน สนุกสนานสอดคล้องหยอกล้อกับระนาดเอก มีจำนวนลูกระนาดน้อยกว่าระนาดเอกระนาดทุ้ม  จะด้วยไม้มีรูปลักษณะเป็นรางร้อยลูกระนาดเป็นพื้นแขวนบนรางระนาดทุ้มใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้
มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อเป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่งรางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปากรางกว้างประมาณ 22 ซมมีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง

           ระนาดทุ้ม  ทำหน้าที่ เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยนล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียงอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้มเป็นเครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆเช่น  วงปี่พาทย์ไม้แข็ง  วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม 
วงมโหรี   ฯลฯ ทำหน้าที่ ดำเนินทำนองเพลง หยอกล้อไปกับระนาดเอกทำให้เกิดความสนุกสนาน

ส่วนประกอบของระนาดทุ้ม คือ
-  ลูกเสียงสูงสุด ยาวประมาฯ 35 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.
- ไม้ตีระนาดทุ้ม มีความนุ่มและขนาดของปื้นไม้ใหญ่กว่าไม้นวม ของระนาดเอก
-  ผืนระนาด มีลูกระนาดจำนวน 17 - 18 ลูก มีวิธีทำเช่นเดียวกับผืนระนาดเอก
-  ลูกเสียงต่ำสุด ยาวประมาณ 42 ซม. กว้าง 6 ซม.
-  โขน แผ่นไม้ปิดหัวท้ายรางระนาดมีตะขอเล็กๆทำหน้าที่เกี่ยวเชือกร้อยผืนระนาดให้ลอยได้ระดับอยู่เหนือราง
-  รางระนาด มีรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียง
-   เท้าระนาดทุ้ม ชิ้นไม้เล็กๆ วางรองทั้งสี่มุมด้านล่าง




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฉิ่ง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

           ฉิ่ง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะประเภทเครื่องกำกับจังหวะ รูปร่างคล้ายถ้วยชาไม่มีก้น เว้ากลาง ปากผายกลมเจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกเพื่อความสะดวกในการถือตีกระทบกันเมื่อต้องการตีเสียง "ฉิ่ง" ก็เอาขอบของฝาหนึ่งกระทบเข้ากับขอบอีกฝาหนึ่ง เมื่อต้องการตีเสียง "ฉับ" ก็เอาทั้งสองฝาตีประกบกันฉิ่งนับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากเพราะผู้เล่นจะต้องมีความสามารถในเรื่องจังหวะ และรู้อัตราจังหวะของเพลงที่บรรเลงเป็นอย่างดี

เครื่องดนตรี ฉิ่ง มี ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
-  ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์
-  ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี

หน้าที่เครื่องดนตรี ฉิ่ง  นั้นจะทำหน้าที่
- ใช้บรรเลงประกอบจังหวะ วงดนตรีไทยทุกวงจะต้องใช้ฉิ่งเป็นผู้ทำจังหวะให้



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ซอด้วง เครื่องดนตรีไทยประเภทสี

          ซอด้วง   เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทสีเป็นซอประเภทซอสองสายที่มีเสียงแหลม และก้องกังวาน ส่วนคันทวนนั้นยาวประมาณ 72 ซมคันชักยาวประมาณ 68 ซมซึ่งทำมาจากหางม้าซึ่งยาวประมาณประมาณ 120 –150 เส้น กะโหลกของซอด้วงนั้น เดิมทีจะใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซมกะโหลกของซอด้วงนี้ที่ทำด้วยไม้ลำเจียกจะมีเสียงดีกว่าไม้อืน  ส่วนหน้าของซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง
          ลักษณะของเครื่องดนตรีไทย ซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู –ฉิน (Huchin) สาเหตุที่เราเรียกว่า ซอด้วง นั้นก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกันจึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
          สายของเครื่องดนตรีไทย ซอด้วง นั้นมีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือ
               - สายเอกจะเป็นเสียง เร
               - ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง ซอลโดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
          เครื่องดนตรีไทย ซอด้วง จะใช้บรรเลงในวงเครื่องสายและวงมโหรีโดยในวงเครื่องสายซอด้วงจะทำหน้าที่เป็นผู้นำวงในการล้อล้วง ขัด และการออกเพลงต่างๆ เช่น เพลงหางเครื่องและลูกหมดส่วนในวงมโหรี ซอด้วงมีหน้าที่เดินทำนองร่วมไปกับระนาดเอก แต่บทบาทในการนำวง ระนาดเอกจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ
           ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีไทย  ซออู้ นั้นจะเอาแน่นอนเหมือนซอด้วงไม่ได้เพราะเราขนาดของกะโหลกที่จะนำมาทำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ซออู้จึงมีกะโหลกเล็กบ้างใหญ่บ้างไม่เท่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้คันซอหรือทวน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามขนาดของกะโหลกซอด้วย      ส่วนประกอบมีดังนี้
          -  คันซอ เรียกอีกอย่างว่า คันทวน คันทวน มี 3 ช่วง คือ ทวนบน ทวนกลาง   หรือ อก และทวนล่าง คันทวนยาวประมาณ 60 เซนติเมตร คันทวนมีลักษณะกลึงกลมเกลี้ยงค่อย ๆ ใหญ่จากโคนลงมาหาปลาย ส่วนของคันซอจากเหนือรัดอก ขึ้นไปถึงยอดข้างบนเรียกว่า “ทวนบน” ทวนบนนี้กลึงกลมต่อจากทวนล่างโดยค่อยๆ ใหญ่ขึ้นไปตอนปลายทีละน้อยเพื่อให้ดูสวยงามรับกับคันทวนที่ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น ตรงช่วงเหนือกะโหลกขึ้นไปประมาณ 20 เซนติเมตร เรียกว่า “ทวนล่าง” ส่วน “ทวนกลาง”นั้น ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่ระหว่างทวนบนและทวนล่าง
          - ลูกแก้ว ซึ่งจะอยู่ระหว่างปลายสุดหรือยอดทวนลงมาประมาณ 10.5 เซนติเมตรโดยการกลึง ตัวทวนเป็นลูกแก้วคั่นไว้ลูกหนึ่ง ต่อจากนั้นลงมาอีก 8.5 เซนติเมตร กลึงอีกลูก 1 ลูก และอีก 8.5 เซนติเมตร กลึงอีก 1 ลูก รวมแล้วลูกแก้วค้างอยู่บน  ทวนบน 3 ลูก
          - ลูกบิด โดยลูกบิดนี้จะอยู่ระหว่างลูกแก้วลูกที่ 1 และลูกแก้วลูกที่ 2 และบนลูกแก้วลูกที่ 3 จะเจาะรูไว้ช่วงละ 1 รู ไว้สำหรับลูกบิดสอดเข้าไป ลูกบิดนี้มีไว้เพื่อใช้ในการพันสายซอ และบิดสายเอกและสายทุ้ม ลูกบิดอันล่างไว้สำหรับสายเอก ลูกบิดอันบนสำหรับสายทุ้ม ลูกบิดทั้งสองอันมีลักษณะเท่ากันและเหมือนกัน
            - รัดอก จะอยู่ตรงทวนกลาง รัดอกจะรัดสายซอทั้งสองเข้ากับคันซอวัสดุที่ใช้ทำรัดอกควรใช้สายเอกซอด้วง ความกว้างของรัดอกที่เหมาะสมคือประมาณ 0.5 เซนติเมตร ระยะของรัดอกระหว่างคันทวนถึงสายซอประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขอบบนของรัดอกซอ อยู่ต่ำกว่าลูกแก้วใต้ลูกบิดสายเอกประมาณ 0.6 เซนติเมตร
           - กะโหลกซอ เปรียบเหมือนกล่องเสียงของซออู้ กะโหลกซอจะทำด้วยกะลามะพร้าว หน้ากะโหลกลึกประมาณ 11.5 เซนติเมตร กว้างและยาวประมาณ 14 เซนติเมตร และ  ท้ายกะโหลกซอนี้จะแกะสลัก เพื่อเป็นช่องสำหรับให้เสียงออก และมักแกะสลักฉลุ เป็นลวดลายต่างๆ ตามความต้องการและฝีมือของช่างแกะสลักที่จะตกแต่งให้เกิดความสวยงาม
             - หนังหน้าซอ จะขึ่งอยุ่หน้ากะโหลกของซออู้จะขึ้นหน้าด้วยหนังวัวหรือหนังแพะ ถ้าเป็นกะโหลกที่ดีจริง ๆ แล้ว มักจะขึ้นด้วยหนังสดเอาโขลกกับน้ำพริกแกงจนนิ่ม เรียกว่า “หนังแกง” หนังแกงนี้ ทำให้ได้เสียงนุ่มนวล น่าฟัง ส่วนกะโหลกทั่ว ๆไปมักจะขึ้นหนังหน้าซอด้วยหนังฟอกทั่ว ๆ ไป
            - หมอนหรือหย่อง มักจะทำด้วยผ้าพันกันจนกลมหรือทำด้วยกระดาษม้วน ๆมีลักษณะกลมคล้ายหมอน เส้นผ่าศูนย์กลางของหมอนประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หมอนซอนี้จะวางไว้ในตำแหน่งตรงกึ่งกลางหน้าซอ โดยให้สายซอพาดอยู่ข้างบนและตั้งฉากกับแนวยาวของหมอน ไม่ให้สายแนบติดกับหน้าซอในเวลาสีซอ
           - ก้านคันชัก บางทีอาจจะเรียกว่า “คันสี” ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดเดียวกับคันทวน  มีลักษณะกลึงกลมให้เป็นคันคล้าย ๆ คันศร ความยาวประมาณ 74 เซนติเมตรก้านคันชักนี้ต้องมีหางม้าขึงตึง
           - หางม้า จะเรียกว่า “หางม้า” ก็เพราะนำเอาหางม้าจริงๆ มาใช้ทำคันชักซอ แต่ในปัจจุบันหางม้าจริงๆ มีราคาแพง จึงหันมาใช้ไนล่อนแทนหางม้า ซึ่ง ไนล่อนนี้ทำขึ้นเป็นเส้นละเอียดเหมือนหางม้า แต่ไม่มีปุ่มเล็กๆ เหมือนหางม้าจริงๆ  จึงทำให้ลื่น ฉะนั้นจึงต้องใช้ยางสนถูไปมาที่ไนล่อนเพื่อให้เกิดความฝืดเวลาสีซอจะทำให้เกิดเสียงดัง ส่วนจำนวนเส้นของหางม้าหรือไนล่อนนี้ ไม่น้อยกว่า 250 เส้น
           - หมุดยึดหางม้า เป็นหมุดที่ใช้ยึดตรึงหางม้าไว้กับก้านคันชักให้ตึง นิยมด้วยไม้ โลหะและงาช้าง
           - สายซอ นั้นทำด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว มี 2 สาย คือ  สายทุ้ม (สายใหญ่) สายเอก (สายเล็ก) ทั้งสองสายนี้พาดอยู่บนหมอน ระยะห่างระหว่างสายห่างกันประมาณ 0.7 เซนติเมตร




ติดตามข่าวสารเกียวกับดนตรีไทยได้ที http://www.livethaimusic.com/ 
 ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://werasak1957.blogspot.com/

ขลุ่ยอู้ เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า


        ขลุ่ยอู้  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า  ส่วนใหญ่เครืองดนตรีประเภทขลุ่ยมักจะทำจากไม้รวกไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
         ขลุ่ยอู้  เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรีเครื่องใหญ่ และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีประเภทตาม

ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ขลุ่ย มีส่วนประกอบดังนี้
       -  เลาขลุ่ยหรือตัวขลุ่ยนั้นเองจะมีขนาดที่แตกต่างกันแต่บางคนมักนิยมประดิษฐ์ ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เพื่อความสวยงามและเป็งานศิลปะอีกอย่างหนึง ลายที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด  แต่การลงลายนั้นมักนิยมในขลุ่ยไม้ ถ้าหากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้งิ้วดำ ฯลฯ จะไม่นิยมทำลายลงบนเลาขลุ่ย แต่อาจจะมีการลงรัก แต่จะใช้การประกอบมุก ประกอบงา แทน
        -  ดากหรือไม้อุดปากขลุ่ยนั้นเองนิยมใช้ไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายใน  ของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก เพื่อให้เป่าลมผ่านไปได้
        - รูเป่า ใช้สำหรับเป่าลมเข้าไปในเลาขลุย
       - รูปากนกแก้ว คือ รูที่เจาะร่องไว้สำหรับรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ยอยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  การทำรูปากนกแก้วนั้นก็เพื่อทำให้เกิดเสียง เปรียบเสมือนได้กับลิ้นของขลุ่ย นั้นเอง
        - รูเยื่อ คือ รูที่ใช้สำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว นิยมใช้เยื่อไม้ไผ่หรือเยื่อหัวหอม ปิด อยู่ด้านขวามือของขลุ่ย  แต่ในปัจจุบัน หาขลุ่ยที่มีรูเยื่อไม่ค่อยได้แล้ว
         - รูค้ำ เรียกอีกอย่างว่า รูนิ้วค้ำ ใช้สำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่าอยู่ด้านล่างของเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
        - รูบังคับเสียง คือ รูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มาตราฐานจะมีอยู่ ด้วยกัน ๗ รู
        - รูร้อยเชือก  นั้นจะมี ๔ รู หรือ ๒ รู ก็ได้ จะอยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ยโดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่


  


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/thai_flute/sec01p03.html