จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขลุ่ยอู้ เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า


        ขลุ่ยอู้  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า  ส่วนใหญ่เครืองดนตรีประเภทขลุ่ยมักจะทำจากไม้รวกไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
         ขลุ่ยอู้  เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรีเครื่องใหญ่ และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีประเภทตาม

ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ขลุ่ย มีส่วนประกอบดังนี้
       -  เลาขลุ่ยหรือตัวขลุ่ยนั้นเองจะมีขนาดที่แตกต่างกันแต่บางคนมักนิยมประดิษฐ์ ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เพื่อความสวยงามและเป็งานศิลปะอีกอย่างหนึง ลายที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด  แต่การลงลายนั้นมักนิยมในขลุ่ยไม้ ถ้าหากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้งิ้วดำ ฯลฯ จะไม่นิยมทำลายลงบนเลาขลุ่ย แต่อาจจะมีการลงรัก แต่จะใช้การประกอบมุก ประกอบงา แทน
        -  ดากหรือไม้อุดปากขลุ่ยนั้นเองนิยมใช้ไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายใน  ของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก เพื่อให้เป่าลมผ่านไปได้
        - รูเป่า ใช้สำหรับเป่าลมเข้าไปในเลาขลุย
       - รูปากนกแก้ว คือ รูที่เจาะร่องไว้สำหรับรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ยอยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  การทำรูปากนกแก้วนั้นก็เพื่อทำให้เกิดเสียง เปรียบเสมือนได้กับลิ้นของขลุ่ย นั้นเอง
        - รูเยื่อ คือ รูที่ใช้สำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพริ้ว นิยมใช้เยื่อไม้ไผ่หรือเยื่อหัวหอม ปิด อยู่ด้านขวามือของขลุ่ย  แต่ในปัจจุบัน หาขลุ่ยที่มีรูเยื่อไม่ค่อยได้แล้ว
         - รูค้ำ เรียกอีกอย่างว่า รูนิ้วค้ำ ใช้สำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่าอยู่ด้านล่างของเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
        - รูบังคับเสียง คือ รูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มาตราฐานจะมีอยู่ ด้วยกัน ๗ รู
        - รูร้อยเชือก  นั้นจะมี ๔ รู หรือ ๒ รู ก็ได้ จะอยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ยโดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่


  


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/thai_flute/sec01p03.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น