จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ซอด้วง เครื่องดนตรีไทยประเภทสี

          ซอด้วง   เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทสีเป็นซอประเภทซอสองสายที่มีเสียงแหลม และก้องกังวาน ส่วนคันทวนนั้นยาวประมาณ 72 ซมคันชักยาวประมาณ 68 ซมซึ่งทำมาจากหางม้าซึ่งยาวประมาณประมาณ 120 –150 เส้น กะโหลกของซอด้วงนั้น เดิมทีจะใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซมกะโหลกของซอด้วงนี้ที่ทำด้วยไม้ลำเจียกจะมีเสียงดีกว่าไม้อืน  ส่วนหน้าของซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง
          ลักษณะของเครื่องดนตรีไทย ซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู –ฉิน (Huchin) สาเหตุที่เราเรียกว่า ซอด้วง นั้นก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกันจึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
          สายของเครื่องดนตรีไทย ซอด้วง นั้นมีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือ
               - สายเอกจะเป็นเสียง เร
               - ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง ซอลโดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
          เครื่องดนตรีไทย ซอด้วง จะใช้บรรเลงในวงเครื่องสายและวงมโหรีโดยในวงเครื่องสายซอด้วงจะทำหน้าที่เป็นผู้นำวงในการล้อล้วง ขัด และการออกเพลงต่างๆ เช่น เพลงหางเครื่องและลูกหมดส่วนในวงมโหรี ซอด้วงมีหน้าที่เดินทำนองร่วมไปกับระนาดเอก แต่บทบาทในการนำวง ระนาดเอกจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ
           ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีไทย  ซออู้ นั้นจะเอาแน่นอนเหมือนซอด้วงไม่ได้เพราะเราขนาดของกะโหลกที่จะนำมาทำไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ซออู้จึงมีกะโหลกเล็กบ้างใหญ่บ้างไม่เท่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้คันซอหรือทวน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามขนาดของกะโหลกซอด้วย      ส่วนประกอบมีดังนี้
          -  คันซอ เรียกอีกอย่างว่า คันทวน คันทวน มี 3 ช่วง คือ ทวนบน ทวนกลาง   หรือ อก และทวนล่าง คันทวนยาวประมาณ 60 เซนติเมตร คันทวนมีลักษณะกลึงกลมเกลี้ยงค่อย ๆ ใหญ่จากโคนลงมาหาปลาย ส่วนของคันซอจากเหนือรัดอก ขึ้นไปถึงยอดข้างบนเรียกว่า “ทวนบน” ทวนบนนี้กลึงกลมต่อจากทวนล่างโดยค่อยๆ ใหญ่ขึ้นไปตอนปลายทีละน้อยเพื่อให้ดูสวยงามรับกับคันทวนที่ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น ตรงช่วงเหนือกะโหลกขึ้นไปประมาณ 20 เซนติเมตร เรียกว่า “ทวนล่าง” ส่วน “ทวนกลาง”นั้น ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร อยู่ระหว่างทวนบนและทวนล่าง
          - ลูกแก้ว ซึ่งจะอยู่ระหว่างปลายสุดหรือยอดทวนลงมาประมาณ 10.5 เซนติเมตรโดยการกลึง ตัวทวนเป็นลูกแก้วคั่นไว้ลูกหนึ่ง ต่อจากนั้นลงมาอีก 8.5 เซนติเมตร กลึงอีกลูก 1 ลูก และอีก 8.5 เซนติเมตร กลึงอีก 1 ลูก รวมแล้วลูกแก้วค้างอยู่บน  ทวนบน 3 ลูก
          - ลูกบิด โดยลูกบิดนี้จะอยู่ระหว่างลูกแก้วลูกที่ 1 และลูกแก้วลูกที่ 2 และบนลูกแก้วลูกที่ 3 จะเจาะรูไว้ช่วงละ 1 รู ไว้สำหรับลูกบิดสอดเข้าไป ลูกบิดนี้มีไว้เพื่อใช้ในการพันสายซอ และบิดสายเอกและสายทุ้ม ลูกบิดอันล่างไว้สำหรับสายเอก ลูกบิดอันบนสำหรับสายทุ้ม ลูกบิดทั้งสองอันมีลักษณะเท่ากันและเหมือนกัน
            - รัดอก จะอยู่ตรงทวนกลาง รัดอกจะรัดสายซอทั้งสองเข้ากับคันซอวัสดุที่ใช้ทำรัดอกควรใช้สายเอกซอด้วง ความกว้างของรัดอกที่เหมาะสมคือประมาณ 0.5 เซนติเมตร ระยะของรัดอกระหว่างคันทวนถึงสายซอประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขอบบนของรัดอกซอ อยู่ต่ำกว่าลูกแก้วใต้ลูกบิดสายเอกประมาณ 0.6 เซนติเมตร
           - กะโหลกซอ เปรียบเหมือนกล่องเสียงของซออู้ กะโหลกซอจะทำด้วยกะลามะพร้าว หน้ากะโหลกลึกประมาณ 11.5 เซนติเมตร กว้างและยาวประมาณ 14 เซนติเมตร และ  ท้ายกะโหลกซอนี้จะแกะสลัก เพื่อเป็นช่องสำหรับให้เสียงออก และมักแกะสลักฉลุ เป็นลวดลายต่างๆ ตามความต้องการและฝีมือของช่างแกะสลักที่จะตกแต่งให้เกิดความสวยงาม
             - หนังหน้าซอ จะขึ่งอยุ่หน้ากะโหลกของซออู้จะขึ้นหน้าด้วยหนังวัวหรือหนังแพะ ถ้าเป็นกะโหลกที่ดีจริง ๆ แล้ว มักจะขึ้นด้วยหนังสดเอาโขลกกับน้ำพริกแกงจนนิ่ม เรียกว่า “หนังแกง” หนังแกงนี้ ทำให้ได้เสียงนุ่มนวล น่าฟัง ส่วนกะโหลกทั่ว ๆไปมักจะขึ้นหนังหน้าซอด้วยหนังฟอกทั่ว ๆ ไป
            - หมอนหรือหย่อง มักจะทำด้วยผ้าพันกันจนกลมหรือทำด้วยกระดาษม้วน ๆมีลักษณะกลมคล้ายหมอน เส้นผ่าศูนย์กลางของหมอนประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หมอนซอนี้จะวางไว้ในตำแหน่งตรงกึ่งกลางหน้าซอ โดยให้สายซอพาดอยู่ข้างบนและตั้งฉากกับแนวยาวของหมอน ไม่ให้สายแนบติดกับหน้าซอในเวลาสีซอ
           - ก้านคันชัก บางทีอาจจะเรียกว่า “คันสี” ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชนิดเดียวกับคันทวน  มีลักษณะกลึงกลมให้เป็นคันคล้าย ๆ คันศร ความยาวประมาณ 74 เซนติเมตรก้านคันชักนี้ต้องมีหางม้าขึงตึง
           - หางม้า จะเรียกว่า “หางม้า” ก็เพราะนำเอาหางม้าจริงๆ มาใช้ทำคันชักซอ แต่ในปัจจุบันหางม้าจริงๆ มีราคาแพง จึงหันมาใช้ไนล่อนแทนหางม้า ซึ่ง ไนล่อนนี้ทำขึ้นเป็นเส้นละเอียดเหมือนหางม้า แต่ไม่มีปุ่มเล็กๆ เหมือนหางม้าจริงๆ  จึงทำให้ลื่น ฉะนั้นจึงต้องใช้ยางสนถูไปมาที่ไนล่อนเพื่อให้เกิดความฝืดเวลาสีซอจะทำให้เกิดเสียงดัง ส่วนจำนวนเส้นของหางม้าหรือไนล่อนนี้ ไม่น้อยกว่า 250 เส้น
           - หมุดยึดหางม้า เป็นหมุดที่ใช้ยึดตรึงหางม้าไว้กับก้านคันชักให้ตึง นิยมด้วยไม้ โลหะและงาช้าง
           - สายซอ นั้นทำด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว มี 2 สาย คือ  สายทุ้ม (สายใหญ่) สายเอก (สายเล็ก) ทั้งสองสายนี้พาดอยู่บนหมอน ระยะห่างระหว่างสายห่างกันประมาณ 0.7 เซนติเมตร




ติดตามข่าวสารเกียวกับดนตรีไทยได้ที http://www.livethaimusic.com/ 
 ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://werasak1957.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น