จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระนาดทุ้ม เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี



          ระนาดทุ้ม เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี  ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเลียนแบบระนาดเอกแต่ให้มีเสียงที่ทุ้มต่ำและประดิษฐ์วิธีการบรรเลงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากระนาดเอก คือให้มีลีลาโลดโผน สนุกสนานสอดคล้องหยอกล้อกับระนาดเอก มีจำนวนลูกระนาดน้อยกว่าระนาดเอกระนาดทุ้ม  จะด้วยไม้มีรูปลักษณะเป็นรางร้อยลูกระนาดเป็นพื้นแขวนบนรางระนาดทุ้มใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้
มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อเป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่งรางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปากรางกว้างประมาณ 22 ซมมีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง

           ระนาดทุ้ม  ทำหน้าที่ เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยนล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียงอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้มเป็นเครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆเช่น  วงปี่พาทย์ไม้แข็ง  วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม 
วงมโหรี   ฯลฯ ทำหน้าที่ ดำเนินทำนองเพลง หยอกล้อไปกับระนาดเอกทำให้เกิดความสนุกสนาน

ส่วนประกอบของระนาดทุ้ม คือ
-  ลูกเสียงสูงสุด ยาวประมาฯ 35 ซม. กว้างประมาณ 5 ซม.
- ไม้ตีระนาดทุ้ม มีความนุ่มและขนาดของปื้นไม้ใหญ่กว่าไม้นวม ของระนาดเอก
-  ผืนระนาด มีลูกระนาดจำนวน 17 - 18 ลูก มีวิธีทำเช่นเดียวกับผืนระนาดเอก
-  ลูกเสียงต่ำสุด ยาวประมาณ 42 ซม. กว้าง 6 ซม.
-  โขน แผ่นไม้ปิดหัวท้ายรางระนาดมีตะขอเล็กๆทำหน้าที่เกี่ยวเชือกร้อยผืนระนาดให้ลอยได้ระดับอยู่เหนือราง
-  รางระนาด มีรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียง
-   เท้าระนาดทุ้ม ชิ้นไม้เล็กๆ วางรองทั้งสี่มุมด้านล่าง




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น