จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีจับไม้ระนาด ของเครืองคนตรีไทยระนาดเอก



วิธีจับไม้ระนาด ของเครืองคนตรีไทยระนาดเอก
          การจับไม้ระนาดเอกที่ถูกวิธีมีส่วนช่วยทำให้การบรรเลงมีคุณภาพและเกิดความไพเราะ หลักการจับไม้ระนาดเอกที่ถูกต้องคือนิ้วทุกนิ้วจะต้องจับไม้ระนาดให้แน่นโดยมีความยาวประมาณ 1 ในสามของก้านไม้เมื่อเริ่มจับให้หงายฝ่ามือขึ้นให้ก้านไม้ระนาดวางพาดกระชับกับร่องกลางตรงข้อมือและเลยเข้าไปใต้แขนเล็กน้อย นิ้วชี้เหยียดหงายรองรับก้านไม้ระนาดไว้ นิ้วหัวแม่มือบีบกระชับด้านข้างของก้านไม้นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อยรวบจับก้านไม้ระนาดไว้ให้แน่นเมื่อจับก้านไม้ระนาดแน่นแล้ว ให้พลิกฝ่ามือและแขนคว่ำลงโดยไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อโดยให้ก้านไม้ระนาดยังคงอยู่ระหว่างตรงกลางร่องมือพอดีข้อศอกและไหล่แนบกับลำตัวโดยให้แนวไม้ระนาดกับแขนของผู้บรรเลงเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน

การจับไม้ระนาดเอกแบ่งออกเป็น 3  แบบคือ
           -  การจับแบบ "ปากกา" คือการจับโดยให้ก้านไม้ระนาดแนบอยู่กลางร่องมือใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อย รวบกำก้านไม้ระนาดให้นิ้วเรียงชิดติดกันส่วนนิ้วหัวแม่มือวางแนบขนานไปกับก้านไม้และปลายนิ้วชี้แตะอยู่บนก้านไม้ระนาดทำมุมประมาณ 45 องศา ประโยชน์ของการจับไม้ระนาดแบบปากกาทำให้มีความคล่องตัวใช้กับการบรรเลงประเภทเพลงลูกล้อลูกขัดเพลงประเภทสองไม้ หรือลูกรัวในการบรรเลงเพลงเดี่ยว อีกทั้งมีความเหมาะสม สำหรับการฝึกหัดเบื้องต้นใน ลักษณะการตีฉากเพื่อฝึกหัดให้เสียงระนาดชัดเจนและดังสม่ำเสมอกัน
           -  การจับแบบ "ปากไก่" ลักษณะคล้ายการจับแบบปากกาแต่แตกต่างที่ตรงนิ้วชี้คือ การจับไม้แบบปากไก่นิ้วชี้จะตกลงจากด้านบนของก้านไม้ระนาดโดยอยู่ด้านตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือก้านไม้ตีติดอยู่ด้านข้างตำแหน่งประมาณกกเล็บหรือโคนเล็บ ประโยชน์ของการจับไม้แบบปากไก่ทำให้เกิดเสียงที่มีความสง่างามมีความภูมิฐาน  และนุ่มนวล การจับไม้แบบปากไก่เหมาะสมที่จะนำ ไปใช้ในการบรรเลงเพลงพิธี
           - การจับแบบ "ปากนกแก้ว" ลักษณะคล้ายการจับแบบปากไก่แต่การจับแบบปากนกแก้วจะต้องให้ก้านไม้ระนาดติดอยู่ด้านข้างนิ้วชี้บริเวณเส้นข้อข้างบนของนิ้วประโยชน์ของการจับไม้แบบปากนกแก้วทำให้เสียงในการบรรเลงมีพลังอำนาจกล่าวคือเสียงของระนาดเอกจะโตและลึก การจับแบบปากนกแก้วมีข้อเสียบาง ประการตรงที่ ว่าเมื่อบรรเลงแล้วเสียงของระนาดจะไม่มีความไพเราะและกลมกล่อม เท่าที่ควร

วิธีการตีระนาดเอก  มีดังต่อไปนี้

  -  ตีสองมือพร้อมกันเป็นคู่ต่างๆ
  -  ตีฉาก คือวิธีการตีให้มือทั้งสองข้างพร้อมกันและได้น้ำหนักประมาณกัน
  -  ตีเก็บคู่แปด คือการตี 2 มือพร้อมกันเป็นคู่ 8 อาจเป็นหรือไม่เป็นทำนองก็ได้
  -  ตีกรอ คือการตีคู่ต่างๆ สองมือสลับกัน ด้วยน้ำหนักสองมือประมาณกัน
  -  ตีสะเดาะ คือการตีสะบัดยืนคู่ 8 สามครั้ง ห่างเท่าๆกันโดยเร็ว
  -  ตีสะบัด คือการตีคู่ 8 สามครั้ง ห่างกันโดยเร็ว ให้เสียงเคลื่อนที่เป็นคู่เสียงต่างๆ
  -  ตีขยี้ คือการตีเสียงให้ถี่กว่าตีเก็บเป็นสองเท่า



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://pirun.ku.ac.th/~b4711078/ta.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น