จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จุดแรกเริ่มของดนตรีไทย

ดนตรีไทยเริ่มขี้นในกรุงพระสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง  ในรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

โดยดนตรีไทยจะเป็นในลักษณะของการขับลำนำ และร้องเล่น ซะมากกว่า

ดนตรีไทยยังกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง"  ได้ยังกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทย

ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือน

เช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่ก็มีการเพิ่มเติมระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึง

ประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง

ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา

เข้ามารวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

พอถึงดนตรีไทยใน สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัด เข้ามาในวงของ

ปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำและรัชกาลที่ 2

ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรีไทยทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด

และทรงพระราช นิพนธ์เพลงไทย  บุหลันลอยเลื่อน

พอมาถึงดนตรีไทยในรัชสมัยรัตนโกสินทร์ได้ เกิดกลองสองหน้าพัฒนามา

จากเปิงมางของมอญ  ดนตรีไทยในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่

โดยมีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

ต่อมาดนตรีไทยในรัชกาลที่ 4  ก็ได้เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์

ดนตรีไทยระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้นมา

แต่พอมาถึงดนตรีไทยในรัชกาลที่ 5 สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

ทรงคิดค้นดนตรีไทยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้นมาประกอบการแสดงในละครดึกดำบรรพ์

ดนตรีไทยในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำวงดนตรีของมอญเข้าผสมผสานกับวงปี่พาทย์

 เรียก "วงปี่พาทย์มอญ" โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

ได้ริเริ่มนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรี

ของชาวต่างชาติ เช่น ขิม  ออร์แกน  ของฝรั่งมาผสมเป็น

วงเครื่องสายผสมเป็นครั้งแรกอีกด้วย



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น