จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซอสามสายเครื่องดนตรีไทยประเภทสี


ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทสีใช้บรรเลงคลอไปกับเสียงคนร้อง
เวลาที่ดนตรีรับทั้งวงก็บรรเลงร่วม ไปด้วย แต่ต้องพยายามสีให้กลมกลืน
และสามารถมีเสียงลอดออกมาได้บ้างตามความเหมาะสม


ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ซอสามสาย  มี ดังนี้

 - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง
   เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง
  ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี


 - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน
   คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก
   ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด


 - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว
   สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง

  ใช้รัดสายทั้งสามให้แนบเข้ากับทวนกลาง
   เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน

 - หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้
   สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ - ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ
   ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก
  ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม


- หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง
  เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป
  ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น