จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดนตรีไทยวันนี้เสนอเคล็ดลับวิธีจับไม้ขิม



ดนตรีไทยกับการจับไม้ขิม

 เราสังเกตจากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่าว่านิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้าน บน นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและ นิ้วก้อย รองรับไม้ขิมอยู่ด้านล่างโดยให้ปลายนิ้วก้อยสัมผัสกับปลาย ด้ามไม้ขิมพอดีเมื่อจับตามลักษณะนี้แล้วให้เน้นกำลังบีบไม้ขิม 3 จุดด้วยกันคือ ที่ปลายนิ้วหัวแม่มือ (เลข 1)ที่ปลายนิ้วชี้ (เลข 2) และ ที่ปลายนิ้วก้อย (เลข 3) การที่แนะนำให้จับไม้ขิมครบทั้ง 5 นิ้วนั้นก็เพราะจะได้กำลังมากที่สุดและสามารถบังคับไม้ขิมได้ 100 เปอร์เซนต์ นิ้วมือ 5 นิ้วหากจับไม้ขิมเพียง 3 นิ้วหรือ 4 นิ้ว (นิ้วก้อยเปิด) ก็จะสามารถควบ คุมไม้ขิมได้เพียง 3 ใน 5 ส่วน หรือ 4 ใน 5 ส่วน เท่านั้น ผู้ที่จับครบทั้ง 5 นิ้ว จะสามารถตีขิม
ได้ดังชัดเจนและแม่นยำมากที่สุด

                                                  

ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล  http://www.thaikids.com/kimhlp/00000058.htm

ขิมเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


          ขิม คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ที่ใช้สายโลหะขึงอยู่บนกล่องเสียง ตัวขิมทำด้วยไม้ มีลักษณะกลวงอยู่ภายใน ด้านบนขึงสายทองเหลืองเรียงสลับกันเป็นแถวๆตามแนวนอน มีด้วยกันทั้งหมด 14 แถว แถวละ 3 สาย รวมสายขิมทั้งหมด 42 สายที่นิยมใช้สายทองเหลืองเพราะมีสำเนียงกังวานไพเราะดี สายขิมทุกสายมีหมุดทองเหลืองยึดอยู่ทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 42 ตัว หมุดทางด้านขวามือของผู้บรรเลงใช้หมุนสำหรับเทียบเสียงได้ ส่วนหมุดทางด้านซ้ายมือใช้สำหรับยึดสายขิมเท่านั้นบนพื้นของตัวขิมมี "หย่อง" 2 อันทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือนจากสายขิมลงไปสู่ตัวขิม ถัดจากแนวของหมุดขิมทั้ง 2 ด้านเข้ามาเล็กน้อยมีแนวสันไม้เตี้ยๆเรียกว่า "สะพาน" รองรับสายขิมไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยวางแนวสอบเข้าหากันเหมือนรูปพีระมิด สะพานนี้ทำหน้าที่จัดระดับความตึงของสายขิมเพื่อให้เสียงมีความสูงต่ำต่างกัน ไม้พื้นของตัวขิมทำด้วยไม้เนื้อโปร่งเพื่อให้เสียงก้องกังวานผิวหน้ากรุเป็นช่องรูปวงกลมไว้เพื่อให้เสียงออกดีขึ้น ตรงกลางตัวขิมทำเป็นลิ้นชักเล็กๆสำหรับเก็บค้อนที่ใช้เทียบเสียงขิม ส่วน

  วิธีบรรเลงของเครื่องดนตรี
       -ไช้ไม้ขิม 2 อันตีลงไปบนสายขิมทำให้เกิดเสียงดังกังวาน

ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ขิม แบ่งออกเป็น

 - ตัวขิม
          ตัวขิมทำด้วยไม้มีลักษณะกลวงอยู่ภายในส่วนที่เป็นกรอบโครงร่างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขอบหยักโค้งกลมมนคล้ายปีกผีเสื้อ พื้นด้านล่างและด้านบนทำด้วยแผ่นไม้บางๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนที่เนื้อไม้มีลักษณะ "พรุน" เพื่อให้เสียงก้องกังวานดีขึ้น ทั้ง 2 ฝั่ง ของตัวขิมเป็นบริเวณที่ตั้งของหมุดยึดสายขิมหย่องหนุนสายขิม หย่องบังคับเสียง และเป็นที่เก็บลิ้นชักสำหรับใส่ฆ้อนเทียบเสียงขิมด้วย

 - ฝาขิม
      ฝาขิมทำด้วยไม้มีขอบงุ้มลงมาโดยรอบ มีรูปร่างเข้ารูปกับตัวขิมเพื่อให้แลดูสวยงาม เวลาที่ปิดฝาขิมนิยลงไปจนชนกับหัวมทำ  "แถบสำหรับเสียบไม้ขิม" ติดไว้ทางด้านในฝาขิมเพื่อใช้  สำหรับเหน็บไม้ขิมรุ่นเก่าๆนั้นมักจะนิยมวาดลวดลายสวยงามไว้บนฝาขิมด้านนอก หรือวาดภาพลวดลายไว้บนฝาขิมแต่นิยมทำ เป็นลายไม้ลงเงาเรียบๆหรือทำด้วยวัสดุ  แข็งเช่นเดียวกับที่ใช้ทำกระเป๋าเดินทางฝาขิมนั้นนอกจากจะมีไว้สำหรับปกปิดตัวขิมด้านบนแล้วยังใช้ประโยชน์ในการทำเป็น"กล่องเสียง"  เพื่อขยายเสียงของขิมให้ดัง ก้องกังวานมากยิ่งขึ้นโดยใช้วางรองรับตัวขิมไว้ด้านล่างทำให้ตัวขิมสูงขึ้นและมี  สภาพ "กลวง" อยู่ภายใน นอกจากนั้นฝาขิมยังหนุนให้ตัวขิมมีระดับสูงขึ้นเวลานั่ง  บรรเลงจะถนัดกว่าเพราะมือของผู้บรรเลงไม่ต่ำเข่า

 - ลิ้นชัก
         ขิมรุ่นเก่ามักจะมีลิ้นชักไม้เล็กๆอยู่ตรงกลางตัวขิมด้านที่ผู้บรรเลงนั่งตี ลิ้นชักนี้มีไว้สำหรับเก็บ "ฆ้อนเทียบเสียงขิม" ซึ่งทำด้วยทองเหลือง ตรงปลาย ลิ้นชักด้าน นอกมีหมุด หรือ ห่วงโลหะเล็กๆ ติดไว้เพื่อให้สามารถใช้มือดึงลิ้นชักออกมาจากตัวขิมได้สะดวกขึ้น นอกจากใช้เก็บฆ้อนสำหรับเทียบเสียงขิมแล้ว ยังใช้ลิ้นชักนี้  หนุนรองคั่นระหว่าง ตัวขิม และ ฝาขิม เพื่อเพิ่มระดับความสูงของตัวขิมขึ้นไปอีก ทั้งยังช่วยให้เสียงขิมโปร่งกังวานดีขึ้นด้วยแต่ปัจจุบันไม่นิยมทำลิ้นชักแบบนี้แล้ว เพราะมักจะเกิดปัญหาเนื่องจากฆ้อนทองเหลืองพลิกตัวขัดเหลี่ยมอยู่ข้างในลิ้นชักทำให้ไม่สามารถจะดึงลิ้นชักออกมาได้

 - ฆ้อนเทียบเสียง
      ฆ้อนเทียบเสียงขิมมักทำด้วยทองเหลือง ตรงด้ามสำหรับจับคว้านเป็นช่องสี่เหลี่ยม ลึกเข้าไปเล็กน้อยขนาดพอดีที่จะใช้สวมลงไปบนหัวหมุดยึดสายขิมได้ เวลาที่ต้อง การเทียบเสียงก็ใช้ด้ามฆ้อนสวมลงไปบนหัวหมุดยึดสายขิมที่อยู่ทางด้านขวามือ ของผู้บรรเลงขิมแล้วบิดหมุนไปมาเพื่อปรับความตึงของสายขิมตามที่ต้องการที่ใช้ทองเหลืองทำฆ้อนก็เพราะจะได้มีน้ำหนักพอที่จะตอกย้ำหมุดให้แน่นติดกับ เนื้อไม้ได้ดีนั่นเอง ขิมรุ่นเก่านั้นใช้หมุดยึดสายขิมแบบที่ตอกย้ำได้เวลาที่หมุดหลวมก็จะใช้ฆ้อนนี้ตอกย้ำหมุดให้แน่น สายขิมจะได้ไม่คลายตัวง่าย

 - ไม้ตีขิม
  ไม้ตีขิมของจีนนั้นทำด้วยไม้ไผ่เหลาให้เรียวแบนจากด้ามจนถึงปลาย ตรงปลายไม้
  ทำเป็นสันแข็งไม่นิยมหุ้มวัสดุใดๆไว้ที่ส่วนปลายของไม้ขิม แต่ถ้าเป็นไม้ขิมของไทย
  จะนิยมบุสักหลาด หรือหนังไว้ตรงปลายไม้เพื่อให้เสียงนุ่มนวลขึ้น หากต้องการจะ
  ให้ไม้ขิมมีลักษณะโค้งงอไม้ตีขิมนี้จะใช้เป็นอุปกรณ์ในการเทียบเสียงขิมควบคู่กับ
  ฆ้อนทองเหลือง ไม้ขิมนั้นมีส่วนสำคัญต่อเสียงขิมเป็นอย่างยิ่งเพราะเสียงขิม
  จะดังหรือเบา จะแหลมหรือเสียงทุ้ม ล้วนอยู่ที่ไม้ขิมเป็นส่วนใหญ่ การเลือกใช้
 ไม้ขิม ให้เหมาะกับเพลงที่บรรเลงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บรรเลงต้องคำนึง

 - หย่อง
      หย่องขิมมี 2 ชนิดคือ "หย่องหนุนสายขิม" และ "หย่องบังคับเสียงขิม" หย่องหนุน สายขิมนั้นมี 2 ชิ้นแต่ละชิ้นมีลักษณะยาวแบนเป็นสันหนา ส่วนล่างนิยมฉลุเป็นลวดลายโปร่ง ส่วนบนมีลักษณะคล้ายกับ "ใบเสมา" มี 7 อันด้วยกัน ทำด้วยวัสดุแข็งเช่น กระดูกสัตว์หรืองาเพื่อให้สามารถทนแรงกดจากสายขิมจำนวนมากได้ ถ้าหากไม่ใช้กระดูกสัตว์ หรืองาก็ใช้ไม้เนื้อแข็งหรือพลาสติกแทนได้แต่ต้องฝังแผ่นโลหะ   เช่น ทองเหลืองหรือลวดเหล็กไว้บนสันด้านบน เพื่อให้แข็งพอที่จะรับแรงกดจากสายขิมได้ เป็นเวลานานๆ ขิมตัวหนึ่งจะใช้หย่องหนุนสายขิมจำนวน2 แถว แถวทางด้านซ้ายมือของ ผู้บรรเลงทำให้เกิดเสียงที่สามารถบรรเลงได้ทั้ง 2 ฝั่งของตัวหย่อง ส่วนแถวทางด้านขวา มือของผู้บรรเลงทำให้เกิดเสียงที่สามารถบรรเลงได้เฉพาะเพียง"ฝั่งซ้าย" ของหย่องเท่านั้น

 - หมุดยึดสายขิม
     หมุดยึดสายขิมใช้สำหรับขึงสายขิมให้ตึงทำให้เกิดเสียงกังวาลแต่ความนุมนวลของ  เสียงจะเป็นอย่าไร นั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้รรเลงว่าจะตั้งเสียงขิมนั้นไว้อย่างไร

 - ช่องเสียง
       ช่องเสียงนี้มี 2 ช่องด้วยกัน นิยมคว้านเป็นรูกลมไว้บนพื้นไม้ด้านบนของตัวขิม  รูนี้มีไว้เพื่อช่วยให้เสียงขิมดังกังวานดีขึ้นทั้งนี้เพราะภายในตัวขิมกลวงหากไม่เจาะ  ช่องไว้เสียงจะอับเกินไปไม่น่าฟังแต่ในปัจจุบันนิยมใช้พลาสติกแทน แต่บางครั้งก็ใช้วัสดุจำพวกโลหะมาฉลุเป็นลวดลายก็มีแผ่น วงกลมที่นำมาปิดช่องเสียงนี้ไม่มี ผลต่อเสียงขิมเท่าใดนัก

 - สายขิม
     สายขิมนั้นส่วนใหญ่ทำด้วยสายทองเหลืองเนื่องจากมีเสียงกังวานดีและมีสีสันสวยงาม เสียงขิม 1 เสียง จะเกิดจากสายทองเหลือง 3 เส้น ซึ่งขึงวางพาดอยู่บนตัวขิมและหย่องขิม สายทองเหลืองนี้เมื่อนานเข้าจะมีสีดำคล้ำลงเพราะมีขี้ตะกรันมาเกาะโดยรอบสายจะแห้งเกราะและขาดง่ายขึ้นแต่กลับทำให้เสียงขิมก้องกังวานดีขึ้น


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://5237485.multiply.com/journal/item/5

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซอสามสายเครื่องดนตรีไทยประเภทสี


ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทสีใช้บรรเลงคลอไปกับเสียงคนร้อง
เวลาที่ดนตรีรับทั้งวงก็บรรเลงร่วม ไปด้วย แต่ต้องพยายามสีให้กลมกลืน
และสามารถมีเสียงลอดออกมาได้บ้างตามความเหมาะสม


ส่วนประกอบของเครื่องดนตรี ซอสามสาย  มี ดังนี้

 - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง
   เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง
  ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี


 - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน
   คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก
   ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด


 - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว
   สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง

  ใช้รัดสายทั้งสามให้แนบเข้ากับทวนกลาง
   เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน

 - หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้
   สามตำแหน่ง เพื่อรองรับสายซอ - ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ
   ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก
  ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม


- หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง
  เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป
  ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น




ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จะเข้เครื่องดนตรีไทยประเภทดีด



จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทดีดทีดำเนินทำนองจะใช้ดำเนินทำนองคลุกเคล้า
ไปกับระนาดเอกและซอด้วงบางโอกาสอาจใช้รัวให้เสียงยาวบ้างเวลาบรรเลงใช้ดีด
ด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้าย
สำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วย
จับให้มีกำลังเวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย
ส่วนประกอบของจะเข้
- หลัก คือที่รั้งสายทางตอนหัว
- โต๊ะ ทำด้วยทองเหลือง ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น
- แหน เป็นไม้ไผ่ชิ้นเล็กๆ แบนๆ อยู่ด้านบนของโต๊ะ ใช้หนุนสายให้เสียงพอดี
- สายจะเข้ มี 3 สาย
สายที่ 1 เป็นสายเอ็นหรือเส้นไหมขวั้นเป็นเกลียว เรียกว่าสายเอก
สายที่ 2 เป็นสายเช่นเดียวกับสายเอก แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีเสียงทุ้มกว่า เรียกว่า
สายทุ้ม สายที่ 3 เป็นสายลวด

- เท้าจะเข้ มี 5 ขา มีเท้าตอนตัว 4 ขา และตอนปลาย 1 ขา
- นมจะเข้ สำหรับรองนิ้วกด 11 อัน ติดไว้บนหลังจะเข้ นมอันหนึ่งๆสูงเรียงระดับกันไป ตามระดับเสียง
- หย่อง ที่รองรับสายทางหาง
- รางไหม ประดิษฐ์ด้วยไม้ หรืองา ทำหน้าที่เสริมขอบช่องรับสาย
- ลูกบิด ลูกบิดมี 3 ลูก ประจำทั้ง 3 สาย ทางขวา 2 ลูก ทางซ้าย 1 ลูก
สำหรับเร่งเสียงให้สายตึงหรือหย่อนตามเสียงที่ต้องการ

- ไม้ดีดจะเข้ ใช้สำหรับดีดบรรเลงจะทำด้วยงา กระดูกสัตว์หรือไม้เนื้อแข็ง


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://musicism.exteen.com/

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเภทของวงดนตรีไทย

แบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณถึงปัจจุบันได้ 3 ประเภท ได้แก่

1. วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี

 ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่างๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ

 เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า

ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์" วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ

วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

2. วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อัน ได้แก่เครื่องสี

มีซอด้วงและซออู้ และเครื่องดีด คือ จะเข้ เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภท

เครื่องเป่ามีขลุ่ย เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ

และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่งร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็น

วงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ เหมาะสำหรับ

การบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น

พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลง

สำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ

วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

3. วงมโหรี

วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับขับกล่อมนิยมใช้บรรเลงในงานมงคล

โดยเฉพาะงานมงคลสมรสแต่โบราณใช้บรรเลงกล่อมพระบรรทม

สำหรับพระมหากษัตริย์ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงนี้ประกอบด้วย

เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย หากแต่เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์

ที่นำเข้ามาผสมในมโหรีนี้ได้ลดขนาดให้เล็กลง เพื่อให้มีเสียงพอเหมาะ

กับเครื่องดนตรี ในวงเครื่องสาย และใช้ซอสามสายเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย

วงมโหรีแบ่งเป็น    วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่


ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/
ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://www.tlcthai.com/club/club.php

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จุดแรกเริ่มของดนตรีไทย

ดนตรีไทยเริ่มขี้นในกรุงพระสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง  ในรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

โดยดนตรีไทยจะเป็นในลักษณะของการขับลำนำ และร้องเล่น ซะมากกว่า

ดนตรีไทยยังกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง"  ได้ยังกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทย

ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือน

เช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่ก็มีการเพิ่มเติมระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึง

ประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง

ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา

เข้ามารวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

พอถึงดนตรีไทยใน สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัด เข้ามาในวงของ

ปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำและรัชกาลที่ 2

ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรีไทยทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด

และทรงพระราช นิพนธ์เพลงไทย  บุหลันลอยเลื่อน

พอมาถึงดนตรีไทยในรัชสมัยรัตนโกสินทร์ได้ เกิดกลองสองหน้าพัฒนามา

จากเปิงมางของมอญ  ดนตรีไทยในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่

โดยมีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

ต่อมาดนตรีไทยในรัชกาลที่ 4  ก็ได้เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์

ดนตรีไทยระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้นมา

แต่พอมาถึงดนตรีไทยในรัชกาลที่ 5 สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

ทรงคิดค้นดนตรีไทยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้นมาประกอบการแสดงในละครดึกดำบรรพ์

ดนตรีไทยในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำวงดนตรีของมอญเข้าผสมผสานกับวงปี่พาทย์

 เรียก "วงปี่พาทย์มอญ" โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

ได้ริเริ่มนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรี

ของชาวต่างชาติ เช่น ขิม  ออร์แกน  ของฝรั่งมาผสมเป็น

วงเครื่องสายผสมเป็นครั้งแรกอีกด้วย



ติดตามข่าวสารดีๆเกียวกับดนตรีไทยได้ที  http://www.livethaimusic.com/

ขอบคุณแหล่งข้อมูล   http://th.wikipedia.org/wiki